Page 5 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 5
ประเทศไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาตามมาตรฐานการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเน้นการมี
ส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าโครงการนี้จะสำาเร็จเนิ่นช้ากว่ากำาหนดมากอันเนื่องมาจาก
อุปสรรคหลายประการ แต่ด้วยความช่วยเหลือและกำาลังใจของบุคคลหลายฝ่าย ทำาให้ตัวชี้วัดชุดนี้
สำาเร็จด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ผู้ริเริ่มโครงการที่ให้คำาแนะนำาทางวิชาการในฐานะที่มีประสบการณ์ด้านตัวชี้วัดมาก่อน
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้ให้คำาแนะนำา
และกระตุ้นให้เกิดกำาลังใจตลอดมา นอกจากนั้น คณะผู้ศึกษาต้องขอขอบคุณ คุณณิรมณ เชื้อไทย
เจ้าหน้าที่สำานักวิจัยและวิชาการ และคุณสันติ ลาตีฟี เจ้าหน้าที่สำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างดียิ่งตลอดระยะเวลา
ดำาเนินการศึกษา
คณะผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ที่ได้กรุณาให้คำาแนะนำาเบื้องต้น
ที่มีค่า และขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิสามท่าน คือ นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ รองศาสตราจารย์
ดร.สมคิด พรมจุ้ย และ ดร.จาตุรงค์ บุญรัตนสุนทร ที่ได้กรุณาอ่านวิจารณ์และให้คำาแนะนำาอันมี
ประโยชน์ในการพัฒนาตัวชี้วัดให้สมบูรณ์ขึ้น
นอกจากนั้น การศึกษาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามโครงการนี้ สำาเร็จลงได้ก็จากความช่วยเหลือ
จากบุคคลหลายฝ่าย หลายองค์กร ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคนักวิชาการที่ได้ให้ข้อมูล
ให้คำาแนะนำาตลอดจนให้กำาลังใจ ที่คณะผู้ศึกษาไม่อาจจะกล่าวขอบคุณได้หมด ณ ที่นี้ แน่นอนว่า
งานชิ้นนี้ย่อมมีข้อผิดพลาดบ้างไม่มากก็น้อย คณะผู้ศึกษาขอน้อมรับฟังคำาแนะนำาจากผู้รู้ด้วยความยินดี
เพื่อที่จะได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
คณะผู้ศึกษาเชื่อมั่นว่า ชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้
สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลตามที่
ประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนรายงานประจำาปีเพื่อประเมิน
สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของ กสม. ที่มุ่งไปสู่การยกระดับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน
อย่างต่อเนื่องได้
คณะผู้ศึกษ�
พฤษภาคม ๒๕๕๖