Page 111 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 111
สิทธิมนุษยชน ซึ่งได้บัญญัติรับรองสิทธิลี้ภัยไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงใน
ประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง”
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังผูกพันในฐานะรัฐภาคีกฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง รวมทั้งกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐทุกรัฐในเรื่องหลักการห้าม
การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญการประหัตประหาร (non - refoulement)
ประกอบกับเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ นครเจนีวา ผู้แทนประเทศไทยได้นำาเสนอรายงาน
ประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางาน UPR โดยตัวแทนของหลายประเทศ ได้ให้ความสนใจการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้ลี้ภัยของผู้ลี้ภัย รวมทั้งการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ. ๑๙๕๑ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการเข้าเป็นภาคีนุสัญญาฉบับดังกล่าว ก็มีความจำาเป็นต้องจัดเตรียม
ความพร้อมเชิงกฎหมายและนโยบาย ดังนั้น การริเริ่มแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒
นับเป็นการเตรียมความพร้อมทางกฎหมายที่สำาคัญประการหนึ่งของประเทศไทย
ในระดับภูมิภาคอาเซียน ผู้นำาของประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มีการลงนามเพื่อร่วมมือกันทำาให้
ภูมิภาคนี้เป็นประชาคมอาเซียนภายใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งจะทำาให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภูมิภาคนี้
จึงจำาเป็นต้องมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
เหมาะสมกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๕๕
เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะส่งผลทำาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำางานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยสามารถทำางานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการวางแบบอย่างที่ดีแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีกด้วย
จากความเป็นมาและสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำาเป็นในการศึกษาเพื่อจัดทำา
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้มีความสอดคล้อง
กับสถานการณ์ในปัจจุบัน และการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยอยู่ภายใต้การเคารพสิทธิมนุษยชน
การปฏิบัติตามอนุสัญญา และกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศไทยเป็นภาคี
ให้มากขึ้น เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่ม
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ จะเป็นเครื่องมือสำาคัญที่จะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายของ
ประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ขอลี้ภัยได้มีความสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ เป็นไปตาม
หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับสากลและบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนและการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับ หลังจากการนำาเสนอรายงานทบทวน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางาน Universal Periodic Review (UPR)
และจะได้นำาเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒