Page 110 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 110
บางครั้งยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าร่วมกระบวนการนำาเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายด้วย
ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และคณะ จึงได้เสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๔/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม
๒๕๕๐ ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอำานาจหน้าที่ของ
สำานักงานตำารวจแห่งชาติให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำารวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้ง
เป็นสำานักงานตำารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.
๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติตำารวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่
เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายให้มีสภาพบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสมควรปรับปรุงบทกำาหนด
โทษให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ตลอดจนเพิ่มเติมวิธีการแจ้ง
คำาสั่งเพิกถอนการให้อยู่ในราชอาณาจักรให้คนต่างด้าวทราบทางไปรษณีย์ตอบรับ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
ในการปฏิบัติงาน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ... โดยให้แก้ไขคำาว่า “รัฐมนตรี “อธิบดี”
หรือ “อธิบดีกรมตำารวจ” “ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง” และ“กองตรวจคนเข้าเมือง” เป็น “นายก
รัฐมนตรี” “ผู้บัญชาการตำารวจแห่งชาติ” “ผู้บัญชาการสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง” และ “สำานักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง” ตามลำาดับทุกแห่ง
แก้ไขเพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำานาจแต่งตั้ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ และออกกฎกระทรวงกำาหนดค่าธรรมเนียม ฯลฯ แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของ
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองโดยให้ประกอบด้วย ผู้บัญชาการตำารวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสภาความมั่นคง
แห่งชาติ เป็นกรรมการ และผู้บัญชาการสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ กำาหนด
วิธีการแจ้งการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้คนต่างด้าวทราบเพิ่มเติม
ทางไปรษณีย์ตอบรับ และปรับปรุงบทกำาหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้สถานการณ์เกี่ยวกับการอพยพเข้าเมืองมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่า
อดีตมาก จากการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจสอบคำาร้องเรียนหลายกรณี เช่น กรณี
ชาวโรฮิงญาถูกกักขังไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง ภูเก็ต สงขลา และสวนพลู กรณีชาวโซมาเลียถูก
กักกันที่ห้องกักผู้โดยสารต้องห้ามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกรณีชาวปากีสถานนิกายอะห์มาดีย์และชาว
เวียดนามถูกกักกัน ณ สถานกักกันคนต่างด้าวสวนพลู ด้วยเหตุผลทางกฎหมายคนเข้าเมืองฐานหลบหนี
เข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งที่มีเจตนาที่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อขอลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม แต่พระราช
บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมิได้มีการรับรองและให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย ทำาให้ผู้ลี้ภัยถูก
ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถูกกักกันโดยไม่มีกำาหนดเวลาสิ้นสุด
อยู่ในสภาพห้องกักที่ไม่ถูกสุขอนามัย ถูกส่งกลับประเทศให้เผชิญกับการประหัตประหาร ซึ่งไม่สอดคล้อง
กับการที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศทั้งประเทศไทยเป็นภาคี และกฎหมาย
จารีตประเพณีระหว่างประเทศในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้ลี้ภัย ดังเช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒