Page 109 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 109
ประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบ
ตลอดแนวชายแดน ทำาให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานในหลาย
รูปแบบ ปัจจัยที่ทำาให้เกิดการอพยพในระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา คือ ปัญหาสงครามในอินโดจีนและ
ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศพม่า ที่ทำาให้เกิดการหนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
มาเป็นระยะเวลายาวนาน ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ ๙๐,๐๐๐ คนและผู้ขอ
ลี้ภัยอีก ๑๖,๗๐๐ คน ซึ่งส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย
๙ แห่งใน ๔ จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย - พม่า นอกจากนี้ ยังมีผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยที่มี
สาเหตุจากความยากจนเข้ามาทำางานในประเทศไทยทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายอีกเป็นจำานวนมากซึ่ง
มีทั้งชาวกัมพูชา ลาว และเวียดนาม
ผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยเป็นมนุษย์ซึ่งมีสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันกับบุคคล
คนอื่นๆ จึงควรได้รับการคุ้มครองโดยรัฐในฐานะที่เป็นพลเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดมนุษย์ย่อมต้องได้รับ
การคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปจากมนุษย์ได้
ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ และได้มีการปรับปรุง
แก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยมาเป็นลำาดับ กล่าวคือ มีการปรับปรุงแก้ไข
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ฉบับที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๗ และฉบับที่ ๓ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๒ โดยพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ นี้ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ประกอบกับประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับ
แรงงานต่างด้าวลักลอบหลบหนีเข้าเมืองเป็นจำานวนมาก และยังไม่มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ
แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง รวมถึงไม่มีมาตรการยุติกระบวนการนำาพาหรือนำาเข้าแรงงานต่างด้าว
ผิดกฎหมายที่เข้าประเทศไทยจำานวนมากอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อเสนอแนะเ