Page 197 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 197
่
ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้น าฝายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคล
ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจ านวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาล
ปกครองสูงสุดคัดเลือกจ านวน 1 คน ท าหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จ านวนเจ็ดคน ด้วยมติที่
มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจ านวนกรรมการทั้งหมด
เท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้น ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อ
ให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมากโดยวิธีลงคะแนนลับ
กระบวนการสรรหาและการเลือกกสม. ตามรัฐธรรมนูญ 2550 แตกต่างจาก รัฐธรรมนูญ
2540 ทั้งในขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหา คือองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา วิธีการ
สรรหาและคัดเลือก รวมทั้งจ านวนผู้ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อให้วุฒิสภา และในขั้นตอนของวุฒิสภา
จากเดิมที่ต้องมีมติเพื่อคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อจากจ านวนยี่สิบสองคนให้เหลือสิบเอ็ดคน
มีมติให้ความเห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาจ านวนเจ็ดคน
ก าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจ านวนลดลง จากเดิมที่มีรวมทั้งสิ้น 11
คนให้เหลือเพียง 7 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 6 คน
นอกจากกสม. จะพ้นจากต าแหน่งตามวาระและเหตุอื่นแล้ว รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ก าหนด
เพิ่มเติมให้กสม. ต้องพ้นจากต าแหน่งเมื่อมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ด้วย
ั
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปจจุบัน มีวาระการด ารงต าแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่
วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 และจะครบวาระการด ารงต าแหน่งใน
วันที่ 24 มิถุนายน 2558
ั
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปจจุบัน (ชุดที่สอง) ได้รับการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีก
หกคน ดังนี้
1. นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการ
2. นายแท้จริง ศิริพานิช กรรมการ
3. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการ
4. นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการ
5. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการ
6. พลต ารวจเอกวันชัย ศรีนวลนัด กรรมการ
7. นางวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการ
- 152 -