Page 196 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 196
หนึ่ง คือ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 3 องค์กร คือ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ และ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนรัฐธรรมนูญ 2540 มิได้ก าหนดไว้
อย่างชัดเจนเช่นนี้
5.2.3 องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการ
ตามข้อมูลของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2555) เขียนไว้ว่า โดย
ก่อนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดแรก (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540) จะครบวาระการด ารง
ต าแหน่งในวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ส านักงาน กสม. ได้เตรียมการสรรหา กสม. ชุดใหม่ แต่มี
ั
ประเด็นปญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบของ คณะกรรมการสรรหาตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 (1) ในส่วนของผู้แทนพรรคการเมือง เนื่องจากอยู่
ในช่วงที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่ รัฐสภา จึงมีการหารือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนได้
ข้อยุติว่าควรเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในส่วน
ของคณะกรรมการสรรหา ส านักงาน กสม. จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ฉบับแก้ไปรับปรุงไปยังรัฐบาล แต่ต่อมามีการประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้
ส านักงาน กสม. รับร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติกลับมาเพื่อแก้ไข
ปรับปรุงให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 และโดยที่ รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับ กสม.
เปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 ในสาระส าคัญหลายประการ ส านักงาน กสม.
จึงได้จัดท าร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติฉบับใหม่เสนอไปยัง
นายกรัฐมนตรี และขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
้
นอกจากนี้ ศาลปกครองกลางได้มีค าวินิจฉัยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 ไม่รับค าฟองคดี
้
ตามที่มีผู้ฟองเรื่องการสรรหาด้วยเหตุผลว่า เมื่อพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. 2542 มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 การสรรหา กสม.
จะด าเนินการได้ต้องรอจนกว่าจะมีการแก้ไขหรือตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน แต่ต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 30
มกราคม 2552 แตกต่างไปจากศาลปกครองกลางว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องด าเนินการสรรหา
และเลือก กสม. ชุดใหม่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก าหนดในรัฐธรรมนูญ 2550 และ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542
การสรรหากสม. ชุดใหม่ คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตาม
รัฐธรรมนูญ 2550 มีจ านวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- 151 -