Page 195 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 195
ั
กสม. เตรียมจัดรับฟงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมทั่ว
ประเทศ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่เปิดโอกาสให้กสม.น าเสนอบทเรียน
ั
ดังกล่าวก่อนการยกร่าง แต่กลับตั้งกรรมาธิการรับฟงความคิดเห็นจาก 12 องค์กร ตามที่
รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 ก าหนดไว้ซึ่งรวมทั้ง กสม.ด้วย
ั
กระบวนการและวิธีการที่คณะกรรมาธิการฯ ชุดดังกล่าวด าเนินการรับฟงความคิดเห็น
ในเวลาที่จ ากัด โดยจัดเวทีขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค ท าแบบสอบถามมายังบุคลากรกสม. และเชิญ
ให้กสม.ไปน าเสนอในเวลาที่จ ากัดมากท าให้กสม.ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวเพราะ
กสม.เองได้เตรียมการจัดรณรงค์ร่วมกับองค์กรเครือข่ายอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ตั้งแต่เริ่มต้น
อยู่แล้ว เพื่อสรุปบทเรียนจากรัฐธรรมนูญ 2540 และระดมความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
โดยจัดกับองค์กรเครือข่ายทุกภูมิภาค และแยกจัดเฉพาะประเด็นเพิ่มเติม เช่น สิทธิคนท างานทุก
กลุ่ม กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มผู้หญิง ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้พิการ กลุ่มองค์กรส่วนท้องถิ่น
ั
สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปญญา และสุดท้ายได้จัดท าข้อมูลเป็น “รัฐธรรมนูญ ฉบับเจตนารมณ์
ประชาชน” เสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะ
ั
ในสถานการณ์ช่วงเวลาดังกล่าว การร้องเรียนและปญหาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยหน่วยงานของรัฐ จากกฎหมายและนโยบายของรัฐ ยังด าเนินไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาล
ชุดก่อน อันเป็นผลจากเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนการรัฐประหาร และประกอบกับ
ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลชั่วคราวที่ยังเน้นทิศทางการส่งออกและอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจเช่นเดิม ไม่ได้เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการสังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง
โครงสร้างการจัดการของหน่วยงานของรัฐโดยพื้นฐาน ยังเน้นการใช้อ านาจมากกว่าการใช้สิทธิ
การมีส่วนร่วมจัดการและร่วมตัดสินใจของภาคประชาชน จึงท าให้กลุ่มความขัดแย้งขั้นพื้นฐาน
โดยเฉพาะความขัดแย้งในการจัดการฐานทรัพยากรด าเนินไปอย่างกว้างขวางในขอบเขต
่
ทั่วประเทศเช่นเดิม ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะกลุ่มชายขอบต่างๆ มักจะตกเป็นฝาย
ั
เสียเปรียบทั้งต่อกลุ่มทุนและนโยบายของรัฐ รวมทั้งยังคงด ารงปญหาเกี่ยวกับสิทธิในกระบวน
การยุติธรรมที่ยังคงมีการร้องเรียนสูงมากเช่นทุกปี
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ไว้ในมาตรา 256 มาตรา 257 และมาตราที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากที่รัฐธรรมนูญ 2540
รัฐธรรมนูญ 2550 ได้แบ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ องค์กร
อิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กร คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการ
้
ปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และอีกประเภท
- 150 -