Page 194 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 194

ประการแรก การที่คณะรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มีผลให้ยกเลิก

                  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหมดไปด้วย ส่งผลกระทบต่อองค์กรอิสระตาม

                  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในส่วนของ กสม.   ซึ่งมีพระราชบัญญัติ

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 รองรับบทบัญญัติรองรับรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 199 และมาตรา 200 ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติ จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไปได้ ดังที่ กสม.ได้มีค าชี้แจงหลังการ
                  รัฐประหาร ตอบการถามของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติถึงสถานะและการ

                  ปฏิบัติหน้าที่ของ กสม.ต่อไปได้เช่นเดิม

                         ประการที่สอง การที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติให้ กสม.วินิจฉัยกรณี

                  การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการกระท าที่ไม่เป็นธรรม หรือนโยบายของรัฐบาล บนบรรทัดฐานที่

                  ไม่จ ากัดเฉพาะความชอบด้วยกฎหมาย หรือกฎระเบียบ แต่ต้องตรวจสอบว่า กฎหมาย

                  กฎระเบียบที่น ามาปฏิบัตินั้น มีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  และ/หรือ พันธกรณีระหว่างประเทศ

                  ที่ไทยเป็นภาคี หรือไม่ แม้ไม่มีรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กรณีร้องเรียนทั้งหมดเกิดขึ้นในการบังคับใช้

                  รัฐธรรมนูญ 2540  กสม.จึงใช้หลักการวินิจฉัยการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากรัฐธรรมนูญ 2540

                  เช่นเดิม เพราะ กสม.ไม่รองรับอ านาจของคมช. เว้นแต่กรณีร้องเรียนหรือนโยบายที่เกิดขึ้น
                  ช่วงหลังรัฐประหาร กสม. ก็จะใช้หลักพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ไทยเป็นภาคีที่ยังมีผลผูกพัน

                  สืบเนื่องต่อไป ประกอบกับประเพณีการปฏิบัติของสังคมไทยที่เป็นมา

                         เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มีผลบังคับใช้ กสม. ก็ใช้หลัก

                  รัฐธรรมนูญ 2540 ควบคู่ไปกับ รัฐธรรมนูญ 2550 ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนหรือนโยบายในกรณี

                                                          ั
                  ร้องเรียนนั้นยังมีผลกระทบต่อเนื่องกันมาถึงปจจุบัน
                         ประการที่สาม ในช่วงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เตรียมการจัดตั้งสภา

                  ร่างรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ และจัดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

                  เนื่องจากเป็นเรื่องส าคัญต่อประชาชนทั้งมวล ที่ต้องเข้มงวดต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของภาค

                  ประชาชนให้ชัดเจนและกว้างขวางเป็นหลักประกันให้แก่การร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ควรจะก้าว
                  รุดหน้าให้ดียิ่งกว่าหรือไม่ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 กสม.จึงได้ติดตามและมีข้อเสนอแนะอย่าง

                  ต่อเนื่อง เกี่ยวกับการประกันความเป็นอิสระและการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อ คมช. และ

                  รัฐบาล ในช่วงเริ่มต้นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

                         ประการที่สี่ เมื่อมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ กสม.ถือเป็นภาระหน้าที่โดยตรง ที่พึงจะสรุป

                  บทเรียนทั้งข้อดีและข้อจ ากัดในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2540 จากการท างานเกือบ 6 ปี ของ

                  กสม. รวมทั้งบทเรียนของภาคประชาชนน าเสนอตั้งแต่ก่อนการร่างรัฐธรรมนูญ ควบคู่กับการที่


                                                          - 149 -
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199