Page 148 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 148
4.4.6 วิธีการยื่นเรื่องร้องเรียน
กระบวนการเริ่มต้นตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เริ่มจากที่ผู้เกี่ยวข้องได้ส่งเรื่อง
ร้องเรียนให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือบุคคลที่สามที่เห็นเหตุการณ์สามารถ
ร้องเรียนแทนได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย อาทิเช่น ในบางกรณีที่ผู้เสียหายไม่
สามารถเขียนหนังสือได้ เป็นต้น จากนั้นกฎหมายก าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ด าเนินกระบวนการตรวจสอบ (Inquiries) เพื่อพิสูจน์หรือชี้มูลความผิด ว่าเรื่องที่ร้องเรียนนี้มี
ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะระบุว่าเป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชน หรือไม่
ช่องทางการร้องเรียน ได้แก่ แฟกซ์ เมลล์ ไปรษณีย์ และสามารถติดตามเรื่องร้องทุกข์
หรือขอข้อแนะน าเพิ่มเติมที่แจ้งไปแล้วผ่านทางโทรศัพท์ที่เบอร์ (021) 3925230 ext 126 หรือ
เดินทางไปที่ส านักงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งรายละเอียดที่ต้องใช้ ได้แก่ รายละเอียด: ชื่อ
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ที่ไหน เมื่อไหร่ พยาน เอกสารส าคัญ ส าเนาเอกสารประจ าตัว หลักฐาน
เอกสารการแจ้งความหากมี
อย่างไรก็ตามหากเรื่องร้องเรียนเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยแจ้งมาก่อน กรณีนั้นจะได้รับการ
ลงทะเบียนใหม่ นอกจากนี้รายละเอียดทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ
4.4.7 การพิจารณารับค าร้อง
่
เมื่อมีการร้องเรียนมาที่คณะกรรมการ ขั้นตอนแรกจะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามฝายที่ถูก
้
ร้องเรียนซึ่งใช้เวลาประมาณ 90 วัน การติดตามผู้ที่ถูกฟอง เรื่องร้องเรียนนั้นจะต้องมีการเซ็นต์
อนุมัติโดยประธานก่อน นอกจากนี้ในกระบวนการนี้จะมีการประเมิน และหาข้อมูล หลักฐาน
เพิ่มเติม และวิเคราะห์ สรุปผลในเบื้องต้นอีกด้วย เมื่อกระบวนการติดตามเสร็จสิ้นลง ก็จะเริ่ม
กระบวนการต่อไป
4.4.8 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์
กระบวนการนี้ เป็นการตัดสินว่าเรื่องร้องเรียนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ถ้ามีการ
ละเมิด คณะกรรมการจะเสนอข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขแก่ผู้ละเมิด ถ้าถูกเพิกเฉย
คณะกรรมการจะรายงานไปยังรัฐบาลในท้องถิ่นนั้นๆ และถ้ายังเพิกเฉยอีก ภายใน 60 วัน
คณะกรรมการจะส่งเรื่องต่อไปยังรัฐสภา และสุดท้ายหากยังไม่น าข้อเสนอแนะไปปฏิบัติอีก เรื่อง
ร้องเรียนนี้จะถูกเผยแพร่ไปสู่สาธารณะ
- 104 -