Page 73 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 73
5. การละเมิดสิทธิที่ดินป่าไม้
5.1 ความเป็นมาและภาพรวมสถานการณ์ปัญหา
่
ปาไม้เป็นฐานทรัพยากรที่มีความสําคัญต่อชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนฐานรากของสังคม
้
ที่มีหน้าที่ผลิตอาหารปอนประชากรทั้งประเทศ การสนับสนุนให้ราษฎรในชนบทมีชีวิตอยู่กับ
ฐานทรัพยากร มีการจัดการทรัพยากรที่สมดุลยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยสร้างงาน
กระจายรายได้ กระจายหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลทรัพยากรสาธารณะและสิ่งแวดล้อม
จึงทําให้เกิดความมั่นคงทางทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี
่
ประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่ปาไม้มีความสําคัญเช่นนี้ หากแต่กลับมีสัญญาณหลายประการที่สะท้อนให้เห็นถึง
่
ั
่
สถานการณ์ปญหาความเสื่อมโทรมของปาไม้และทรัพยากรในประเทศไทย ทั้งการสูญเสียพื้นที่ปาธรรมชาติ
ที่สมบูรณ์ถึง 80 ล้านไร่ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา หรือปีละกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งส่งผลทําให้ความ
่
หลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศปาถูกทําลายเป็นจํานวนมาก
รายงานของสถาบันนโยบายศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (2534) สรุปสาเหตุหลัก
ั
่
ของปญหาที่ดินทํากินในเขตปาไม้ไว้ 7 ประการคือ 1. ราษฎรอยู่อาศัยและทํากินมาก่อนที่จะประกาศ
่
่
เป็นปาสงวนแห่งชาติและปาอนุรักษ์ 2. การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนโดยไม่มี
ที่ดินทํากินรองรับ 3. การปฏิรูปที่ดินและการจัดสรรที่ดินของรัฐให้เกษตรกรล้มเหลวไม่สามารถ
ั
แก้ปญหาเกษตรกรไร้ที่ดินทํากินได้ 4. นโยบายการลดขนาดภาคเกษตรให้ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมไม่
เป็นจริง ภาคอุตสาหกรรมรองรับไม่พอ และเกษตรกรที่เปลี่ยนไปเป็นคนงานไม่ได้มีคุณภาพชีวิตดี
่
กว่าเดิม 5. นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐชักนําคนให้ไปตั้งชุมชนในปา ตั้งแต่สัมปทานทําไม้ สัมปทาน
่
เหมืองแร่ การอนุญาตให้เช่าพื้นที่ปาสงวนฯ ฯลฯ 6. การสูญเสียที่ดินเกษตรในพื้นที่ราบให้กับนายทุน
และสถาบันการเงิน และ 7. กระแสพืชเศรษฐกิจเพื่ออุตสาหกรรมและการส่งออก และในช่วงเวลาต่อ ๆ
ั
ั
่
มา ก็มีการวิเคราะห์เหตุปจจัยการทําลายปามาโดยตลอดและข้อสรุปปญหาและข้อเสนอแนะให้แก้ไข
ั
ปญหาก็มิได้มีอะไรใหม่ที่แตกต่างไปจากนี้
่
ระยะไม่นานมานี้ การสูญเสียที่ดินปาไม้ยังเกิดจากกลไกตลาด กลไกรัฐ และกระบวนการ
่
่
ยุติธรรม โดยกระบวนการฟอกบริสุทธิ์ของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับปาไม้เช่น การถางปาแล้วนําที่ดิน
ไปสร้างหลักฐานกู้เงินจากสถาบันการเงินแล้วปล่อยให้ที่ดินถูกยึดขายทอดตลาดก็สามารถซื้อกลับมา
เป็นที่ดินที่ถูกกฎหมายได้ รวมทั้งการนําเงินทุนจากต่างชาติมากว้านซื้อที่ดินโดยตั้งตัวแทนทําธุรกิจ
ซื้อขายที่ดินและได้เงินสดกลับไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่ดินที่จัดสรรโดยโครงการจัดที่ดินเพื่อ
ช่วยเหลือคนจนที่ไร้ที่ดินของรัฐถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของนายทุนและผู้ครอบครองที่ไม่ได้ทํากิน
่
มากกว่าครึ่ง ทําให้เกษตรกรผู้เคยได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐต้องกลับไปถางปาใหม่ รวมทั้งการ
กว้านซื้อที่ดินเป็นผืนใหญ่โดยนายทุนระดับชาติและทุนต่างชาติ ประเด็นนี้เกิดขึ้นทั้งพื้นที่เกษตรกรรม
่
ในภาคกลาง และพื้นที่ปาในภาคใต้ เช่น ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่เกาะยาวจังหวัดพังงา
่
่
ต่อมา แม้รัฐจะนําที่ดินปาไม้ที่ถูกบุกเบิกเป็นที่ทํากินแล้วมากําหนดเป็นเขตปาเสื่อมโทรม
่
เพื่อทําโครงการจัดสรรที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ หมู่บ้านปาไม้
5‐1