Page 74 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 74
่
สิทธิทํากิน รวมทั้งการปฏิรูปที่ดินเขตปา แต่ไม่ช้าไม่นานที่ดินที่จัดสรรของโครงการจัดที่ดินเพื่อช่วยเหลือ
คนจนที่ไร้ ที่ดินต่าง ๆ ของรัฐ ถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของนายทุนและผู้ครอบครองที่ไม่ได้ไร้ที่ดินทํากิน
่
มากกว่าครึ่ง เกษตรกรผู้เคยได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐและสูญเสียที่ดินไปอีกจึงมักกลับไปถางปาใหม่
่
นอกจากนั้นยังมีการอนุญาตให้เอกชนรายใหญ่เช่าที่ดินที่ประกาศเป็นเขตปาเสื่อมโทรมเพื่อ
ทําการเกษตรด้วย พื้นที่อนุญาตจํานวนมากทับที่ดินทํากินของชาวบ้านในท้องถิ่นทําให้เกิดข้อพิพาท
่
ขัดแย้งระหว่างราษฎรในท้องถิ่นกับบริษัทเอกชนผู้เช่าที่ดิน ดังกรณีพื้นที่เช่าทําสวนปาล์มในเขตปา
สงวนจังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี และในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่ดินที่นายทุน
ครอบครองและนําเอกสารสิทธิไปเป็นทรัพย์ประกันกู้เงินจากธนาคารแล้วเป็นหนี้เสียกลายเป็น
สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ที่ดินจํานวนมากจึงตกไปอยู่ในมือของธนาคารและสถาบันการเงิน
ซึ่งเมื่อรัฐจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เข้ามาจัดการหนี้ก็ทําให้นักลงทุนต่างชาติกว้านซื้อที่ดินไว้
่
จํานวนมาก รวมทั้งการกว้านซื้อที่ดินผืนเล็กผืนน้อยของราษฎรในชนบทหรือชิดชายเขตปาหรือชุมชน
ท้องถิ่นที่ใช้ที่ดินทํากินสืบต่อกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษแต่ไม่มีเอกสารสิทธิรองรับตามกฎหมาย ประเด็น
่
นี้เกิดขึ้นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลาง และพื้นที่ปาในภาคเหนือ ภาคใต้ เช่น ที่เกาะสมุย จังหวัด
สุราษฎร์ธานี และ เกาะยาวจังหวัดพังงา
สถานการณ์ที่ดินดังกล่าวข้างต้นมีมิติของการละเมิดสิทธิทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน
ต่อชุมชนและราษฎรท้องถิ่นอยู่ด้วยจึงมีเรื่องร้องเรียนจํานวนมากมาที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ประเด็นร้องเรียนว่ามีกรณีการละเมิดสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร
ั
่
ปาไม้มีจํานวนมากกว่าการละเมิดสิทธิในที่ดินประเภทอื่น ลักษณะปญหาที่มีการร้องเรียนส่วนใหญ่
่
ั
มีพื้นฐานปญหามาจากการใช้อํานาจรัฐประกาศเขตพื้นที่ปาซ้อนทับพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัยและทํากิน
่
่
่
เช่น การประกาศเขตปารักษาพันธุ์สัตว์ปา เขตอุทยานแห่งชาติ เขตปาสงวนแห่งชาติ หรือเขตพื้นที่
่
อนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี ดังตัวอย่างกรณีการประกาศพื้นที่ปาชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 และห้ามชาวบ้านเข้าไปทํากินในพื้นที่ดังกล่าว การประกาศเขตอุทยาน
แห่งชาติใต้ร่มเย็น และเขตอุทยานแห่งชาตินํ้าตกสี่ขีด ในพื้นที่ จ. สุราษฎร์ธานี ซ้อนทับที่ดินทํากิน
่
่
ของราษฎร การประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาผาผึ้ง จ. ชัยภูมิ หรือการดําเนินโครงการปลูกปาเฉลิมพระเกียรติ
ซ้อนทับที่ดินทํากินของราษฎร
่
การประกาศเขตปาซ้อนทับพื้นที่ชุมชนนําไปสู่การใช้อํานาจรัฐในการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
่
่
และทรัพยากรปาไม้ไว้ที่รัฐเพียงฝายเดียว การจัดการและใช้ประโยชน์ของชุมชนที่เคยมีมาช้านาน
กลายเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายละเมิดอํานาจรัฐไปในทันที นําไปสู่การจับกุมชาวบ้านและ
การผลักดันชุมชนออกไปจากพื้นที่ของรัฐ โดยมีหลายกรณีที่ร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่รัฐใช้อํานาจกระทํา
เกินกว่าเหตุในการจับกุมหรือผลักดันชาวบ้านออกนอกพื้นที่และทําให้เกิดการทําร้ายร่างกายและ
้
่
ทําลายทรัพย์สินของชาวบ้าน เช่น กรณีหน่วยปองกันรักษาปาใช้อํานาจและกําลังเข้าจับกุมชาวบ้าน
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาตินํ้าหนาว จ. เพชรบูรณ์ หรือกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา -
หมู่เกาะพีพี เข้าทําลายและรื้อถอนผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่ ต. หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่
เป็นต้น
5‐2