Page 77 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 77
เนื้อหาสาระสําคัญอันเป็นมาตรฐานขั้นตํ่าในเรื่องนั้น ๆ ไว้เสมอและย่อมมีผลผูกพันองค์กรของรัฐทั้ง
ปวง (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550)
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนวนโยบายและมาตรการบริหารจัดการที่ดินได้เสนอไว้ค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่แผนพัฒนา
ั
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2534) โดยระบุปญหาไว้ชัดเจนว่า การ
่
้
พัฒนาทรัพยากรปาไม้ที่ผ่านมาในอดีต เน้นเฉพาะด้านการอนุรักษ์โดยใช้มาตรการปองกันและควบคุม
่
ละเลยบทบาททางเศรษฐกิจของปา และละเลยต่อบทบาทของประชาชนและองค์กรในระดับท้องถิ่น
่
่
การพัฒนาปาไม้ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ประสบผลดีเท่าที่ควร กล่าวคือพื้นที่ปาไม้มีแนวโน้มลดลง
่
อย่างรวดเร็วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นในระยะต่อไปจะขยายขอบเขตการพัฒนาทรัพยากรปาไม้
้
ให้มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ควบคู่กันไป โดยกําหนดเปาหมายระยะยาวให้มี
่
่
พื้นที่ปาไม้ ซึ่งรวมสวนปาของเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยมีแนว
่
การพัฒนาทรัพยากรปาไม้ไว้ ดังนี้
1) สนับสนุนให้ประชาชน และองค์กรประชาชนในระดับท้องถิ่นมีบทบาทและส่วนร่วมในการ
่
พัฒนาทรัพยากรปาไม้ให้มากที่สุด
่
2) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรปาไม้ เพื่อลด
ั
ปญหาความขัดแย้ง
่
3) ปรับปรุงการบริหารและการจัดการทรัพยากรปาไม้โดยการจัดทําเครื่องมือพื้นฐานให้
สมบูรณ์ และมีการปรับปรุงข้อเสนอเรื่องที่ดินในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดมาจนถึง
ั
ปจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 11
ส่วนแนวทางพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ก็ยังให้ความสําคัญ
กับเรื่องที่ดินหลายประการ ได้แก่
1) รักษาและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมี
ที่ดินเป็นของตนเองหรือมีสิทธิทํากินในที่ดิน โดยการปรับปรุงกฎ ระเบียบ ที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการนําที่ดิน
มาใช้เพื่อการเกษตร
2) เร่งรัดให้มีการนําที่ดินที่ซื้อจากเอกชนมาดําเนินการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม และใช้
มาตรการทางภาษีเพื่อบังคับหรือจูงใจให้บุคคลผู้ถือครองที่ดินไว้เป็นจํานวนมากโดยไม่ได้จัดทํา
ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคมให้หันมาทําประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น
3) เร่งรัดการจัดให้มีองค์กรและระบบบริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อเป็นกลไก
ในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดําเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อ
ประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง และสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐอย่างคุ้มค่าโดยเกษตรกร
และชุมชน รวมทั้งเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์หรือจัดสรรสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ทํากินให้มี
ที่ดินเป็นของตนเองอย่างเป็นธรรม
่
แนวคิดหลัก ๆ ในระดับชาติเกี่ยวกับการจัดการที่ดินปาไม้ จึงกล่าวไว้ชัดว่าให้คํานึงถึงความ
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ยังได้เน้นการมีส่วนร่วม
5‐5