Page 76 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 76
่
ถูกประมูลกลับไปยังนายทุนผู้บงการตัดไม้ หรือการถางปาแล้วนําไปสร้างหลักฐานกู้เงินจากสถาบัน
การเงิน เมื่อที่ดินถูกยึดขายทอดตลาด ก็สามารถซื้อกลับมาได้เป็นที่ดินที่ถูกกฎหมาย รวมทั้งการนําเงิน
ที่ไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนจากต่างชาติมากว้านซื้อที่ดินโดยตั้งตัวแทนทําธุรกิจและได้เงินสด
กลับไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ประการที่สาม ที่ดินที่จัดสรรโดยโครงการจัดที่ดินเพื่อช่วยเหลือ
คนจนที่ไร้ที่ดินต่าง ๆ ของรัฐ ถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของนายทุนและผู้ครอบครองที่ไม่ได้ไร้ที่ดินทํากิน
่
มากกว่าครึ่ง ทําให้เกษตรกรผู้เคยได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐ ต้องกลับไปถางปาใหม่ และประการที่สี่
การกว้านซื้อที่ดินเป็นผืนใหญ่โดยนายทุนระดับชาติและทุนต่างชาติ
5.2 แนวคิดและวิธีปฏิบัติในการจัดการที่ดินป่าไม้
5.2.1 แนวคิด
่
่
แนวคิดหลักที่สําคัญทางด้านปาไม้และการจัดการที่ดินในเขตปาที่ปรากฏอยู่ในนโยบายและ
่
กฎหมายรวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีหลายฉบับมีส่วนสําคัญต่อการกําหนดทิศทางการบริหารจัดการปา
่
และที่ดินปาไม้ ในที่นี้จะนําเสนอต้นธารของแนวคิดหลักที่สําคัญและส่งผลมากที่สุด คือ กฎหมาย
่
รัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายปาไม้แห่งชาติ และแนวคิดสําคัญ ๆ
่
บางประการเกี่ยวกับการจัดที่ดินในเขตปา
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนที่ 8 แนวนโยบายด้านที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้
1) กําหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คํานึงถึงความสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนนํ้า วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกําหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้
ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
2) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดําเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ
ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งนํ้า
เพื่อให้เกษตรกรมีนํ้าใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร
ความมุ่งหมายสําคัญของรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน นอกจากจะเป็นไปเพื่อ
ั
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลทั้งที่เป็นปจเจกบุคคลและบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชน
แล้ว ยังมุ่งคุ้มครองและส่งเสริมการฟื้นฟูคุณค่าในการธํารงรักษารากฐานแห่งการดํารงชีพแบบพื้นบ้าน
ตามปรกติของประชาชนซึ่งอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลและยั่งยืน มี
ความปลอดภัยและมีคุณภาพโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชนซึ่งเป็นผู้มี
ประโยชน์ได้เสียสําคัญในการให้สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 ผู้ตีความรัฐธรรมนูญจึง
ควรระลึกไว้เสมอว่า เมื่อรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างใดไว้ ย่อมเป็นการกําหนด
5‐4