Page 384 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 384

3. เพื่อก่อให้เกิดระบบการสร้างงาน สร้างรายได้และเป็นการพัฒนาที่ราชพัสดุให้คุ้มค่ากับ
                       ศักยภาพของที่ดิน
                              4. เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมยั่งยืน
                                                                                                     ั
                              5. เพื่อเร่งรัดให้มีการจัดทําสัญญาเช่าที่ราชพัสดุให้ครบถ้วนและมีฐานข้อมูลผู้เช่าให้เป็นปจจุบัน
                       สามารถเชื่อมโยงกับศูนย์กลาง
                              6.   เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การประเมินค่าสิทธิการเช่าที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของ

                       สถาบันการเงิน
                                   ้
                              กลุ่มเปาหมายโครงการ
                              ในการดําเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนทั่วประเทศทั้ง 5 ประเภทได้แก่

                              1. สัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย
                              2. สัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร
                              3. สัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อปลูกสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลัง

                              4. สัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประโยชน์อย่างอื่น
                              5. สัญญาเช่าอาคารราชพัสดุ
                              คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ
                                                                                   ั
                              1. ต้องเป็นผู้เช่าที่ราชพัสดุที่มีสัญญาเช่าที่ถูกต้องสมบูรณ์เป็นปจจุบัน และต้องไม่เป็นผู้ค้าง
                       ชําระค่าเช่า
                              2. ในกรณีที่เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบการเกษตร ที่ดินนั้นจะต้องไม่สงวนไว้ใช้

                       ประโยชน์ในทางราชการ หรือไม่มีโครงการจะนํามาพัฒนาจัดหาประโยชน์จากที่ดินนั้นเว้นแต่สถาบัน
                       การเงินจะยินยอมให้นําสิทธิที่มีอายุการเช่าไม่เกิน 3 ปี ไปคํ้าประกันการกู้เงินได้
                              3. จะต้องไม่เป็นสิทธิการเช่า ที่มีข้อผูกพันอยู่แล้วเว้นแต่จะทํากับผู้ให้กู้รายเดิม หรือผู้ให้กู้

                       รายเดิมได้ให้ความยินยอมแล้ว
                              โดยกรมธนารักษ์ได้จัดทําข้อตกลงกับสถาบันการเงินทั้ง 3  แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน
                       และธนาคารอาคารสงเคราะห์

                              2.2) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย
                                                            ั
                              ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคง
                       ในการอยู่อาศัยแก่คนจนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

                       ชุมชนบุกรุก กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้อยู่อาศัยกระจัดกระจายอยู่นอกชุมชน ผู้อยู่อาศัยในบ้านเช่า บ้านพัก
                       ตามโรงงาน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยตํ่ากว่ามาตรฐาน ขาดบริการพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

                       ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต จึงมอบให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ
                                                                               ั
                       และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ปญหาดังกล่าว ซึ่งได้กําหนดเป็น
                       โครงการนําร่อง 2 โครงการใหญ่ คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร สําหรับผู้มีรายได้น้อยทั่วไป และโครงการ

                       พัฒนาความมั่นคงที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14   มกราคม 2546
                                           ั
                       เห็นชอบโครงการแก้ไขปญหาที่อยู่อาศัย ผู้มีรายได้น้อย “โครงการบ้านเอื้ออาทร” และโครงการพัฒนา
                       ความมั่นคงที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด “โครงการบ้านมั่นคง”



                                                                                                      7‐22
   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389