Page 382 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 382

มาตรา 12  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี
                       อํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                              กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

                              9) กฎกระทรวง (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พุทธศักราช 2518
                              ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518  คณะกรรมการที่ราชพัสดุ
                       อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 เห็นควร

                       ที่จะกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปกครองดูแล บํารุงรักษา ใช้และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับ
                       ที่ราชพัสดุให้เป็นการแน่นอนและเหมาะสม จึงประกาศใช้กฎกระทรวง (พ.ศ. 2519) ออกตามความใน
                       พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518

                              ข้อ 4  ที่ราชพัสดุในท้องที่จังหวัดใดที่ยังไม่ได้สํารวจรายการเพื่อขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุกลาง
                       ให้กรมธนารักษ์ทําความตกลงกับกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ในที่
                       ราชพัสดุนั้น เพื่อสํารวจรายการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุกลาง

                              เมื่อกรมธนารักษ์ได้ดําเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุกลางตามวรรคหนึ่งแล้วให้แจ้งราชพัสดุ
                       จังหวัดหรือสรรพากรจังหวัดแล้วแต่กรณี เพื่อลงทะเบียนที่ราชพัสดุจังหวัดให้ถูกต้องตรงกัน
                              ข้อ 5  ที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุแปลงใดยังไม่มีหนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน ให้กรมธนารักษ์

                       ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินแปลงนั้น
                              10)  ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา  เรื่องเสร็จที่ 256 - 257/2538  บันทึกเรื่อง

                       สถานะทางกฎหมายของที่ดินที่สงวนหวงห้ามไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการแต่ทางราชการ
                       ยังไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ โดยเห็นว่าในการที่จะพิจารณาว่าที่ดินใดจะเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่
                              สถานะทางกฎหมายของที่ดินที่สงวนหวงห้ามไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการแต่ทางราชการ

                       ยังไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์  โดยเห็นว่าในการที่จะพิจารณาว่าที่ดินใดจะเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่จะต้อง
                       พิจารณาจากมาตรา 4  แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ  พ.ศ. 2518  ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้คําจํากัด

                       ความของที่ราชพัสดุไว้โดยได้ให้ความหมายของที่ราชพัสดุไว้ว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของ
                       แผ่นดินทุกชนิดเว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังต่อไปนี้ คือ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมี
                       ผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน       และ
                       อสังหาริมทรัพย์สําหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน  ซึ่งเป็นการ

                       สอดคล้องกับความในมาตรา 1304 (1)  และ(2)  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง  และ
                       เมื่อพิจารณาย้อนไปถึงประวัติความเป็นมาของคําว่าที่ราชพัสดุ จากคํากราบบังคมทูลของกรมพระจันทบุรี

                       นฤนาทถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 14  มีนาคม  พระพุทธศักราช  2464
                       ซึ่งต่อมาได้มีคําจํากัดความของที่ราชพัสดุที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 3  ของระเบียบการปกครองและ
                       จัดประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พุทธศักราช 2485  ว่า  ที่ราชพัสดุหมายความว่า "ที่ดิน

                       ซึ่งรัฐบาลปกครองใช้ราชการอยู่ หรือสงวนไว้ใช้ราชการในภายหน้าและรัฐบาลได้เข้าปกครอง
                       จัดประโยชน์" ดังนั้น สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จะถือเป็นที่ราชพัสดุได้ก็คือทรัพย์สินที่ใช้เพื่อ
                       ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา 1304 (3)  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                       เมื่อได้พิจารณาแล้วว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จะเป็นที่ราชพัสดุได้จะต้องเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อ


                                                                                                      7‐20
   377   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387