Page 383 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 383

ั
                       ประโยชน์ของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (3)  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปญหาที่จะต้อง
                       พิจารณาต่อไปคือ เมื่อมีการสงวนหรือหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ
                       จะทําให้บริเวณที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่สงวนหรือหวงห้ามนั้นเปลี่ยนสถานะเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อ

                       ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา 1304 (3)  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                       ซึ่งจะถือเป็นที่ราชพัสดุในทันทีหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา  เห็นว่า ที่ดินในเขตที่มีประกาศสงวน
                       หรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย จะมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่

                       ต้องพิจารณาว่าส่วนราชการได้เข้าใช้ประโยชน์แล้วหรือไม่ ถ้าเข้าใช้ประโยชน์แล้วที่ดินดังกล่าวก็เป็น
                       ที่ราชพัสดุ แต่ถ้ายังไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์บางส่วน ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ก็ไม่เป็นที่ราชพัสดุ
                       แต่ยังคงมีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่มีการสงวนหรือหวงห้ามต่อไป

                              7.2.3 การบริหารจัดการที่ดินราชพัสดุ
                              2.1) โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

                              แนวคิดโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
                              ตามที่รัฐบาลมีนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ด้วยการนําทรัพย์สินของภาครัฐและ
                       ภาคเอกชนมาใช้ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินของภาครัฐและภาคเอกชนเกิดประโยชน์สูงสุด
                       หรือเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

                              อันเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เกิดกระบวนการสร้างงาน
                       สร้างรายได้ และกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งทําให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รัฐบาล

                       จึงได้กําหนดนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนขึ้น โดยได้มีการวางแผนการจัดการทรัพย์สินของ
                                                                               ั
                       ประเทศ ทั้งที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินทางปญญา
                              รัฐบาลจึงกําหนดให้ธนาคารภาครัฐเข้าไปมีบทบาทช่วยในการส่งเสริมกลไก  ทั้งนี้ ธนาคาร

                       อาคารสงเคราะห์ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ  จึงได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยธนาคารได้ร่วมกับ
                       กรมธนารักษ์ กําหนดการให้สินเชื่อโดยใช้สิทธิการเช่าเป็นหลักประกัน 2 แบบ ได้แก่
                              1. ประเภทรายย่อยสําหรับผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย  ผู้ที่ได้รับสิทธิการ

                       เช่าที่ของกรมธนารักษ์อยู่แล้วและมีหนังสือยินยอมจากกรมธนารักษ์ ให้ผู้เช่านําสิทธิการเช่า
                       มาขอสินเชื่อกับธนาคาร ตามวัตถุประสงค์ที่ธนาคารกําหนด โดยนําเอกสารสิทธิการเช่าเป็นหลักประกัน
                              2. ประเภทโครงการสําหรับผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย  ผู้ที่ได้รับสิทธิ

                       การเช่าที่ดินในลักษณะโครงการปลูกสร้างบนที่ดินของกรมธนารักษ์  ซึ่งเป็นกรณีที่นําที่ดินว่างเปล่า
                       ของกรมธนารักษ์ไปพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย แล้วจัดสรรให้ข้าราชการเฉพาะกลุ่มหรือประชาชน
                       ทั่วไปเช่า เพื่อปลูกสร้างบ้านพักอาศัย สําหรับกลุ่มนี้ต้องมีการคัดเลือกผู้ต้องการเข้าร่วมเป็นผู้อาศัย

                       ในโครงการด้วย  โดยนําเอกสารสิทธิการเช่ามาเป็นหลักประกัน ในการขอสินเชื่อกับธนาคารอาคาร
                       สงเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กําหนด
                              วัตถุประสงค์โครงการ

                              1. เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการนําสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุไปแปลงเป็นทุนได้
                              2. เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้เช่าที่ราชพัสดุทุกประเภทให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
                       ในระบบ



                                                                                                      7‐21
   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388