Page 368 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 368

7.2 นโยบาย กฎหมาย ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินราชพัสดุ
                              7.2.1 แนวความคิดการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ

                              ระบบการบริหารจัดการที่ดินของรัฐมีรากฐานมาจากแนวความคิดในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

                       ของไทยที่ถือว่าที่ดินทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ และต่อมาเมื่อมีการสถาปนารัฐชาติขึ้น
                       แทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชแบบดั้งเดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดจึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น
                       ของรัฐ เอกชนจะมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินได้ก็ต่อเมื่อรัฐมิได้ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เมื่อ

                       ที่ดินทั้งหมดยกเว้นที่อนุญาตให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองได้เป็นของรัฐ ซึ่งรวมถึงที่ดินที่
                       สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อํานาจในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
                       เหล่านั้นจึงเป็นของรัฐด้วยแต่เพียงผู้เดียว

                              แนวความคิดที่ถือว่ารัฐเป็นผู้มีอํานาจบริหารจัดการที่ดินแต่เพียงผู้เดียวเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีการ
                       ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กล่าวคือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
                       ฉบับนี้ ได้ก่อให้เกิดการการกระจายอํานาจการบริหารจัดการต่าง ๆ ลงไปสู่ระดับภูมิภาค ท้องถิ่นและชุมชน

                       เช่น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 56 79 84 284  และ 290 ซึ่งบัญญัติให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่น
                       สามารถมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดการ ใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยรัฐต้องให้การ
                       ส่งเสริม สนับสนุน ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติรับรองการใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                       ซึ่งรวมถึงที่ดินของประชาชนและชุมชนไว้อย่างชัดแจ้ง โดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายในระดับ
                       พระราชบัญญัติมารองรับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

                              การบัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับจึงก่อให้เกิดความขัดแย้ง
                       ในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ เนื่องด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินของรัฐส่วนใหญ่

                       เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นก่อนที่รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับจะใช้บังคับ ซึ่งให้อํานาจในการบริหารจัดการ
                       ที่ดินของรัฐเป็นอํานาจของรัฐแต่เพียงผู้เดียว เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการบังคับใช้กฎหมาย
                       ในระดับรัฐธรรมนูญ จึงอ้างอาศัยกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                       ตลอดจนประกาศและคําสั่งต่าง ๆ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดิน

                              การพิจารณาให้ที่ดินเป็นที่ราชพัสดุ
                              ความหมายของที่ราชพัสดุตามมาตรา 4 และมาตรา 5 พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518

                              มาตรา 4 "ที่ราชพัสดุ" หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด
                       เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
                              (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือ กลับมาเป็นของแผ่นดินโดย

                       ประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
                              (2) อสังหาริมทรัพย์สําหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์  ของพลเมืองใช้ร่วมกัน
                       เป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางนํ้า ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล

                       และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ  มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือ
                       กรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ




                                                                                                       7‐6
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373