Page 364 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 364
เสียทางเดียวเพื่อปกครองให้เป็นหลักฐานสืบไปนั้น หม่อมฉันเห็นชอบด้วยแล้วให้ท่านจัดการกับเจ้า
กระทรวงต่าง ๆ ในเรื่องต่อไปเถิด” (หนังสือพระบรมราชโองการรัชการที่ 6 ที่ 65/507 ลงวันที่ 25
มีนาคม 2464)
จากคํากราบบังคมทูลและพระบรมราชโองการดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า เจตนารมณ์ของ
การมีที่ราชพัสดุเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางราชการ โดยให้ส่วนราชการต่าง ๆ ยืมไปใช้ประโยชน์เป็นหลัก
ส่วนที่ดินราชพัสดุแปลงใดที่ทางราชการยังมิได้ใช้ประโยชน์ก็อาจขายหรือจัดการให้เกิดประโยชน์ใน
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนําเงินขึ้นงบประมาณแผ่นดิน และในส่วนการได้มาซึ่งที่ราชพัสดุตามที่
กรมพระจันทบุรีนฤนาท รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามคํากราบบังคมทูลพระราชทาน
พระบรมราชานุญาต ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ได้ดังนี้
1. ที่ราชพัสดุคงพระคลัง เช่น ที่ดิน ตึก บ้าน เรือน สวน นา
2. สถานที่ว่าการกระทรวง และกรมต่าง ๆ
3. การยึดจากเจ้าของภาษีอากรแทนพระราชทรัพย์ค้าง
4. การรับโอนจากกระทรวง และกรมต่าง ๆ
5. ที่ดินเหลือจากเขตถนนตามพระราชกฤษฎีกา
6. การสงวนไว้เพื่อประโยชน์ในราชการ
สําหรับการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรง
พระราชทานบรมราชานุญาต ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบการขึ้นทะเบียน และนํา
ที่ดินซึ่งมีการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจะนําไปขอรับโฉนด หรือหนังสือสําคัญ
ั
สําหรับที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐาน แต่เนื่องจากพระบรมราชโองการไม่มีรายละเอียดที่เพียงพอ ทําให้เกิดปญหา
การบังคับใช้ หลายหน่วยงานโต้แย้งและไม่ปฏิบัติตาม ที่ราชพัสดุจึงถูกรวบรวมขึ้นทะเบียนเพียงบางส่วน
เท่านั้น
ในปี 2477 ได้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับที่ราชพัสดุเพิ่มเติมในชื่อว่า “ระเบียบการ
ปกครองจัดประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2477” เป็นการกําหนดหลักเกณฑ์ว่า ที่ดินลักษณะใดที่ต้อง
ดําเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ เช่น ที่ดินที่ใช้ในราชการโดยตรง ที่ดินของหน่วยงานราชการที่ได้รับ
หนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน ที่ดินที่สงวนไว้ใช้ราชการภายหน้า และที่สาธารณประโยชน์ที่เลิกใช้แล้ว
แต่ไม่ได้มีการกําหนดความหมายที่ราชพัสดุไว้
ในปี 2485 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบการปกครองจัด
ประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2477 ด้วยเหตุผลที่ว่า เนื่องจากระเบียบดังกล่าว ได้มีคําสั่งแก้ไขเพิ่มเติม
หลายครั้งและระเบียบบางประการขัดกับทางปฏิบัติ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นระเบียบที่ดีและ
รัดกุมยิ่งขึ้น โดยการยกเลิกระเบียบเดิม และการประกาศใช้ “ระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ 8782/2485
เรื่อง การปกครองและจัดประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พุทธศักราช 2485” ซึ่งระเบียบดังกล่าว
ได้เพิ่มเติมความหมาย “ที่ดินราชพัสดุ” ไว้ว่า “ที่ดินซึ่งรัฐบาล ปกครองใช้ราชการอยู่ หรือสงวนไว้ใน
ราชการภายหน้า และรัฐบาลได้เข้าปกครองใช้ประโยชน์แล้ว นอกจากที่ดินในความปกครองกรมรถไฟทางหลวงใน
ความปกครองกรมโยธาเทศบาล และทรัพย์สินของจังหวัดตามมติคณะรัฐมนตรี ที่สาธารณประโยชน์ เช่น คู คลอง
ถนน ทางหลวงต่าง ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อการสาธารณประโยชน์แล้ว ที่ดินราชพัสดุต้องสํารวจขึ้นทะเบียนทาง
7‐2