Page 365 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 365
กระทรวงการคลังทั้งสิ้น” และหากเป็นที่ดินราชพัสดุต้องสํารวจส่งขึ้นทะเบียนที่กระทรวงการคลัง และ
ยังได้กําหนดให้มีกองรักษาที่หลวงเป็นเจ้าหน้าที่รักษาระเบียบกลาง ปกครองจัดประโยชน์ใน
ส่วนกลาง แต่ในส่วนภูมิภาคกําหนดให้เป็นหน้าที่ของสรรพากรจังหวัดดําเนินการภายในเขตจังหวัด
ในเขตอําเภอให้คณะกรรมการอําเภอโดยการอนุมัติของคณะกรรมการจังหวัด เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง
และจัดการผลประโยชน์ แต่ระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว ก็ไม่สามารถนําไปสู่การปฏิบัติได้
เนื่องจากหน่วยงานราชการอื่น ๆ โต้แย้งว่า การที่กรมธนารักษ์อ้างอํานาจตามกฎหมายและระเบียบ
กระทรวงการคลัง ที่ 8782/2485 เรื่อง การปกครองและจัดประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พุทธศักราช
2485 ให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นําที่ดินมาขึ้นทะเบียนนั้น กรมธนารักษ์ไม่มีอํานาจ เพราะพระ
บรมราชโองการฯ มิใช่กฎหมายเป็นคําสั่งภายในที่ใช้บังคับเฉพาะในกระทรวงการคลัง และในส่วน
ระเบียบนั้น เป็นระเบียบของกระทรวงการคลังเท่านั้น จะใช้บังคับแก่กระทรวงอื่น ๆ มิได้
ั
ในระหว่างปี 2511 - 2512 จากปญหาการโต้แย้งในเรื่องอํานาจเกี่ยวกับที่ราชพัสดุของ
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จึงทําให้กรมธนารักษ์มอบหมายให้กองรักษาที่หลวงดําเนินการยกร่าง
พระราชบัญญัติที่ดินราชพัสดุ
ในปี 2512 มีคําพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1428 - 1429/2512 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2512 วินิจฉัยว่า
พระบรมราชโองการในสมัยนั้นย่อมถือเป็นกฎหมายให้อํานาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแล
้
รักษา และดําเนินการคุ้มครองปองกันที่ราชพัสดุ”
วันที่ 28 ธันวาคม 2514 สภาบริหารคณะปฏิวัติ มีมติที่ประชุมว่า กระทรวงการคลังไม่มีอํานาจ
หน้าที่ในที่ราชพัสดุในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน นอกจากจะเป็นที่ของส่วนราชการสังกัด
กระทรวงการคลังเท่านั้น
ต่อมาในปี 2517 ได้มีความพยายามที่จะขอแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยการขอโอนงานของ
กองรักษาที่หลวงไปอยู่ในสังกัดของกรมอื่น จึงทําให้กรมธนารักษ์ต้องเร่งดําเนินการยก “ร่างพระราชบัญญัติ ใน
ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติจัดเรียบที่ราชพัสดุ พ.ศ. .....” เสนอคณะรัฐมนตรี และส่งให้สภานิติบัญญัติ
แห่งชาติพิจารณาโดยมีคําชี้แจงเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ พร้อมกับเหตุผล
สําคัญดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์การมีที่ราชพัสดุ คือ เพื่อใช้ราชการส่วนที่เหลือใช้หรือมิได้ใช้ให้กระทรวงการคลัง
จัดหาผลประโยชน์นํารายได้เข้างบประมาณแผ่นดิน ส่วนการบริหารงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชาอนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รวบรวมที่ราชพัสดุไว้ ทั้งนี้เพราะที่ราช
พัสดุเป็นทรัพย์คงพระคลังอย่างหนึ่ง และให้กระทรวงการคลังจัดการให้ กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ
ให้ราชการเพื่อเป็นการทุ่นพระราชทรัพย์ เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน
ั
2. เนื่องจากปจจุบันนี้ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการปกครองดูแลรักษาที่ราชพัสดุให้เป็นไปโดยมี
ั
ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทําให้เกิดปญหายุ่งยากในทางปฏิบัติหลายประการ สมควรให้มี
กฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบที่ราชพัสดุขึ้นโดยเฉพาะ โดยให้กระทรวงการคลังมีอํานาจหน้าที่
ั
เกี่ยวกับการนี้ เพื่อเป็นการประหยัดและขจัดปญหางานซํ้าและซ้อนกัน
3. การปกครองดูแลที่ราชพัสดุนี้ตั้งแต่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา ได้เป็นหน้าที่ของ
กระทรวงการคลังที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ แต่ต่อภายหลังได้มีการออกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
7‐3