Page 363 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 363
7. การละเมิดสิทธิที่ดินราชพัสดุ
7.1 ความเป็นมาและสถานการณ์
เดิม “ที่ราชพัสดุ” ไม่มีนิยามและกฎหมายใดที่กําหนดไว้ชัดเจน ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
ได้มีพระราชบัญญัติกรมราชพัสดุ ร.ศ. 109 บัญญัติว่า ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีอํานาจในการ
ปกครองดูแลเฉพาะอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และที่ดินที่อยู่ในความปกครองของกระทรวง พระคลัง
มหาสมบัติเท่านั้น กระทั่งมีพระบรมโองการรัชการที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2464 ทรงวินิจฉัย
พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามคํากราบบังคมทูลของกรมพระจันทบุรีนฤนาท รองเสนาบดี
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีใจความว่า
“ด้วยที่ดินราชพัสดุที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ปกครองอยู่เวลานี้ มี ที่ดิน ตึก บ้าน
เรือน สวน นา ตลอดจนสถานที่ว่าการกระทรวง และกรมต่าง ๆ ราชพัสดุประเภทนี้มีคงกระทรวง
มาแต่เดิมบ้าง ได้รับและยึดจากเจ้าภาษีอากรแทนพระราชทรัพย์ค้างบ้าง และได้รับโอนจากกระทรวง
บางกระทรวง มีกระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้
ยังได้รับที่ดินเหลือจากเขตถนน ตามประกาศพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย กระทรวงพระคลังฯ ได้จัดการ
ปกครองขอรับโฉนดที่ดินและหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินขึ้นทะเบียนไว้เป็นหลักฐานมั่นคงกระทรวงพระคลังฯ
ได้จัดการปกครองขอรับโฉนดที่ดิน ที่ดินรายใดเป็นสถานที่ว่าการอยู่แล้วหรือที่ใดควรสงวนไว้
เพื่อประโยชน์ในราชการ ก็ตั้งทะเบียนไว้แผนก 1 ที่ดินรายใดควรขายก็ขายไปตามเวลาและราคา
อันสมควร ถ้ารายใดยังไม่ควรขายก็ได้จัดการให้เกิดประโยชน์ เก็บเงินขึ้นงบประมาณแผ่นดินเมื่อได้
จัดการปกครองให้เป็นหลักฐานมั่นคงขึ้นดังกราบบังคมทูลพระกรุณามาแล้วนี้ ได้จํานวนที่ดินมาขึ้นทะเบียน
เป็นราพัสดุทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองมีจํานวนเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์ให้บางกรม
บางแผนกยืมเป็นสถานที่ว่าการอยู่เสมอ เป็นการทุ่นพระราชทรัพย์ขึ้นอีกส่วนหนึ่ง แต่ที่ดินราชพัสดุ
ยังมีกระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้ากระหม่อมว่า
ที่ราชพัสดุประเภทนี้เป็นพระราชทรัพย์คงพระคลังส่วน 1 และทั้งกระทรวงพระคลังฯ ก็ได้ปกครอง
รักษาอยู่เป็นส่วนมากอยู่แล้ว สมควรจะรวบรวมบรรดาที่ดินของหลวงอันยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกกระทรวง
และกรมต่าง ๆ ต้องการที่หลวงเพื่อประโยชน์ราชการแผนกใดอย่างไร ก็ยืมไปเพื่อประโยชน์ราชการนั้นได้
การที่จะจัดการปกครองที่หลวงอันเป็นราชพัสดุให้เป็นหลักฐานสืบไป ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน
เรียนพระราชปฏิบัติถ้าชอบด้วยพระราชดําริแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
จัดการกับเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะทรวงพระกรุณาโปรดเกล้า” (หนังสือกระทรวง
พระคลังมหาสมบัติ ที่ 205/23400 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2464)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานพระบรม -
ราชานุญาตตามคํากราบบังคมทูลกรมพระจันทบุรีนฤนาท รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
มีใจความว่า
“ตามหนังสือกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ที่ 205/23400 ลงวันที่ 14 เดือนนี้ว่า เห็นควร
สมควรรวบรวมบรรดาที่ดินของหลวงในกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียนราชพัสดุไว้ทางกระทรวงพระคลังฯ
7‐1