Page 367 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 367
กระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดการปกครองที่หลวงอันเป็นราชพัสดุ หรือ ที่ราชพัสดุ ก็โดยได้รับ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้มีพระบรมราช
โองการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2464 ให้รวบรวมบรรดาที่ดินของหลวงในกระทรวงต่าง ๆ มาขึ้นทะเบียน
ราชพัสดุไว้ทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ(กระทรวงการคลัง) เพื่อปกครองให้เป็นหลักฐาน
กระทรวงการคลังจึงได้เข้าบริหารจัดการที่ราชพัสดุเรื่อยมาและได้ออกระเบียบกระทรวงการคลังวาง
หลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารขึ้น และปรับปรุงเรื่อยมาเป็น “ระเบียบการปกครองและจัด
ประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุ พ.ศ.2485 ต่อมา ได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารที่ดินของรัฐ
ออกมาใช้บังคับอีกเป็นจํานวนมาก ทําให้การบริหารที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลกระจัด
ั
กระจายออกไปอีก และเกิดปญหาในการบริหารที่ไม่เป็นเอกภาพ จนกระทั่งวันที่ 5 มีนาคม 2518 จึง
ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มีผลใช้บังคับ โดยมีเหตุผล
ในการตราพระราชบัญญัตินี้ว่า เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีกฎหมายว่าด้วยการปกครอง ดูแล รักษา ที่
ั
ราชพัสดุ ทําให้เกิดปญหายุ่งยากในการปฏิบัติหลายประการ จึงให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบที่
ั
ราชพัสดุขึ้นโดยเฉพาะ ให้กระทรวงการคลังมีอํานาจหน้าที่ เพื่อการประหยัดและขจัดปญหางานซํ้า
และซ้อนกัน นอกจากนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 (ฉบับที่ 11)
พ.ศ.2518 ให้กระทรวงการคลังมีอํานาจหน้าที่ในกิจการที่เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ โดยมีเหตุผลว่า โดยที่
กฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุให้กระทรวงการคลังมีอํานาจในการปกครอง ดูแล และบํารุงรักษา รวมทั้ง
จัดหาประโยชน์และทํานิติกรรม เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ สมควรแก้ไขอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง
ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ให้สอดคล้องกัน
จากนั้นมาในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ทั้งยังได้บัญญัติ
ั
ให้กระทรวงการคลังมีอํานาจหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุตลอดมาจนปจจุบัน ในส่วนของ
พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม แต่ได้มีการตราพระราชบัญญัติอื่น
ออกมาใช้บังคับเป็นจํานวนมากที่มีผลกระทบต่อการบริหารที่ราชพัสดุ เช่นการยกเว้นอสังหาริมทรัพย์
อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินบางประเภทที่เคยเป็นที่ราชพัสดุ การเปลี่ยนแปลงอํานาจการปกครอง
ดูแล รักษาและจัดหาประโยชน์ หลักเกณฑ์การถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กฎหมายเหล่านี้ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัย กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ การปฏิบัติงาน
เกี่ยวกับที่ราชพัสดุจึงมิอาจใช้พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯเพียงฉบับเดียวในการตรวจสอบความ
ถูกต้องของการปฏิบัติงานได้
7‐5