Page 366 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 366
ประมวลกฎหมายที่ดิน และสุดท้ายในปี 2506 ได้มีการออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
ั
กรม หมดอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง การมีกฎหมายมาระยะหลังนี้ได้ทําเกิดปญหาไม่สอดคล้องกัน
ั
และปญหาในทางปฏิบัติหลายอย่างหลายประการด้วยกัน
ในปี 2518 สภานิติบัญญัติแห่งชาตินํา “ร่างพระราชบัญญัติในชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติจัด
ระเบียบที่ราชพัสดุ พ.ศ. 25......” เข้าสู่การพิจารณา นายทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา สมาชิกสภานิติ
บัญญัติ เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่า “ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่สมควรรับหลักการ เพราะว่า
่
หลักการบอกว่าให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบ การจัดระเบียบนั้นเป็นอํานาจของฝายบริหารที่
่
จะต้องจัดให้เหมาะสมกับกาลสมัยและเหตุการณ์ต่าง ๆ ควรจะเป็นระเบียบภายในของฝายบริหาร
มากกว่า ในทางกฎหมายนั้นได้มีกฎหมายคุ้มครองที่ราชพัสดุอยู่แล้วหลายฉบับครบถ้วน โดยเฉพาะ
ในมาตรา 4 ซึ่งบอกว่าที่ราชพัสดุหมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด
ก็จะได้ว่าล้อข้อความมาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) คือยกเว้นอนุมาตรา
(1) (2) แต่ว่าในมาตรา 4 นี้เองก็มีข้อความคลุมเครือที่ว่า ที่ราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ทุก
ั
ชนิด” ดังนั้น จึงมีการแก้ไขชื่อเป็น “พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ........” ดังปรากฏในปจจุบัน ซึ่ง
พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 54 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2518
ในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ได้นิยามความหมายของคําว่าที่ราชพัสดุ
ไว้ว่า หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของ
แผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดย
ประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สําหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า
ที่ชายตลิ่งทางนํ้า ทางหลวง ทะเลสาบ
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่า
เป็นที่ราชพัสดุ อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิดอันเป็นที่ราชพัสดุ ที่กระทรวง
ทบวง กรม ได้มาโดยประกาศสงวนไว้ใช้ในราชการ หรือตกเป็นของรัฐบาลเนื่องจากค้างชําระภาษีอากรหรือ
รัฐบาลจัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ หรือโบราณสถาน กําแพงเมือง คูเมือง หรือโดยคําพิพากษาของศาล
หรือที่ดินเหลือเศษจากการเวนคืนซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชย หรือโดยคําสั่งนายกรัฐมนตรีตาม
ธรรมนูญการปกครอง หรือเอกชนบริจาคให้ทางราชการ หรือโดยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดิน
รกร้างว่างเปล่า หรือโดยประการอื่น ๆ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 ของ
พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ยกเว้นเฉพาะที่ดินที่ได้มาโดยการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วย
การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
วัตถุประสงค์ที่ราชพัสดุมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ แต่ถ้าที่ราชพัสดุแปลงใดไม่ได้ใช้
ประโยชน์ในทางราชการ หรือไม่ได้สงวนไว้ เพื่อประโยชน์ในราชการกรมธนารักษ์จะนํามาจัดหา
ประโยชน์ โดยการจัดให้เช่าหรือโดยวิธีการจัดทําสัญญาต่างตอบแทนอื่น นอกเหนือจากการจัดให้เช่า
ก็ได้ สําหรับการจัดหาประโยชน์ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับสภาพทําเลของที่ราชพัสดุ โดยคํานึงถึง
ประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ
7‐4