Page 52 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 52

31


               2.3 กฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ หลักการและมาตรการของประเทศไทยที่เกี่ยวของกับการคุมครอง

               สิทธิในการประกอบอาชีพของผูที่อยูรวมกับเชื้อเอชไอวี


                       ประเทศไทยเปนอีกประเทศหนึ่งที่ไดรับการยอมรับจากเวทีโลกในการมุงมั่นในการปองกันและแกไข
               ปญหาการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีที่มีความกาวหนา ทั้งในการดําเนินการปองกัน การดูแลรักษาและการ
               ใหบริการ และการพยายามพัฒนากรอบกฎหมายและนโยบายในการสงเสริมการคุมครองสิทธิมนุษยชนของ
               ผูติดเชื้อเอชไอวีใหมีความสอดคลองกับแนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล แตในปจจุบันประเทศไทยยังไมมีกฎหมาย
               ที่บัญญัติเพื่อสงเสริมการคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อเปนการเฉพาะ มีเพียงการริเริ่มจัดทํารางพระราชบัญญัติ

               คุมครองผูติดเชื้อเอชไอวีหรือผูปวยเอดส พ.ศ. ..... ซึ่งอยูในความรับผิดชอบของสํานักนายกรัฐมนตรี แตเนื้อหา
                                                                                                        71
               ในรางกฎหมาย ถูกวิจารณวามีแนวโนมที่จะยิ่งซ้ําเติมการตีตราและเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อมากกวา
               นอกจากนี้ ในปจจุบัน มีแรงกระตุนจากกลุมคนพิการใหมีการรางกฎหมายเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติในภาพรวม
                                                           72
               ในสํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)  ดวย แตเนื่องจากยังไมมีเจาภาพที่ชัดเจน จึงยังไมมี
                                   73
               ความกาวหนาเทาใดนัก
                       ในปจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายและนโยบายของรัฐที่เกี่ยวของดังนี้

                       2.3.1  รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

                       ในการคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีในประเด็นตางๆ รวมถึงสิทธิมนุษยชนในการ
               ประกอบอาชีพอยูภายใตการรับรองและคุมครองตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่ง

               เปนกฎหมายสูงสุดของประเทศโดยมีหลักการที่สําคัญดังตอไปนี้
                       -  ศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ไดรับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ในฐานะสิทธิ
               มนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สําคัญ (มาตรา 4 และ 28 ) ซึ่งบุคคลจะตองไดรับการคุมครองสิทธิและการเคารพใน

               ศักดิ์ศรีความเปนมนุษยจากรัฐและบุคคลอื่นๆ
                                                              74
                       -  หลักความเสมอภาค และการไมเลือกปฏิบัติ  อาจกลาวไดวา นอกจากความเสมอภาคและการ
               ไมเลือกปฏิบัติในความหมายทั่วไป แลวมาตรา 30 วรรคสามแหงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2550 ไดนําหลักการที่เรียกวา การเลือกปฏิบัติที่เปนธรรม (positive discrimination) เพื่อยืนยัน

               วาในกรณีที่มีการเลือกปฏิบัติ รัฐสามารถกระทําไดหากการเลือกปฏิบัติดังกลาวเปนไปเพื่อการขจัดอุปสรรค
               หรือสงเสริมใหบุคคลสามารถใชสิทธิและเสรีภาพไดเชนเดียวกับบุคคลอื่น นอกจากนี้เพื่อเปนการคุมครอง
               ความเสมอภาคเทาเทียม รัฐธรรมนูญไดบัญญัติใหรัฐมีหนาที่ในการดําเนินนโยบายดานตางๆ รวมถึงการดําเนิน

               นโยบายดานกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อประกันหลักความเสมอภาคตอหนากฎหมาย ซึ่งบุคคลตอง


               71
                  ขอสังเกตจากประธานเครือขายผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดส (ประเทศไทย) ในการจัดประชุมรับฟงความคิดเห็นตอผลการศึกษา
               16 พฤศจิกายน 2556
               72
                  คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หนวยงานที่ตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 81(3)  ประกอบกับมาตรา 308 วรรคหนึ่งของ
               รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติใหรัฐตองตั้งใหมีการจัดตั้งองคกรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่เปนอิสระเพื่อปรับปรุง
               และพัฒนากฎหมายของประเทศและปรับปรุงกฎหมายใหเปนไปตามรัฐธรรมนูญ โดยตองรับฟงความคิดเห็นของผูที่ไดรับ
               ผลกระทบจากกฎหมายนั้นประกอบดวย รวมทั้งสนับสนุนการดําเนินการรางกฎหมายของประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้ง (หมาย
               เหตุทายพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553)
               73
                  คุณสุนี ไชยรส คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กลาวถึงความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟงความ
               คิดเห็นตอผลการศึกษา 16 พฤศจิกายน 2556
               74 อาทิ มาตรา 4, 5, 28, 30,35 และ 51 เปนตน
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57