Page 13 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 13

VIII


               2.  ขอคนพบจากการศึกษา

                   2.1 สถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีผลกระทบและเหตุปจจัย
                       2.1.1  สถานการณการเลือกปฏิบัติ
                       แมวารัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีบทบัญญัติที่วาดวยความเสมอภาค
                                                       5
               และการไมเลือกปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสาม  และมีแนวปฏิบัติการปองกันและจัดการดานเอดสในสถาน
               ประกอบกิจการของกระทรวงแรงงาน และแนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดส
               ในสถานที่ทํางาน ที่ออกโดย คช.ปอ. แตจากขอมูลจากการศึกษา ทั้งจากการทบทวนเอกสารและการเก็บ

               ขอมูลภาคสนามของโครงการ พบวา ในปจจุบันสถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
               เอชไอวี ยังปรากฏในทั้ง 3  ระดับ คือ ระดับกฎหมาย/นโยบาย ระดับสถาบันและระดับชุมชน ดังแสดง
               รายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

                       (1) การเลือกปฏิบัติระดับกฎหมาย มีการเลือกปฏิบัติในระเบียบยอยขององคกรบางแหง ในขั้นตอน
               ของการรับสมัครงาน โดยเฉพาะที่ปรากฏในระเบียบของขาราชการตํารวจ และขาราชการฝายตุลาการ

               อยางไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณในตางประเทศ แมในประเทศที่มีกฎหมายหามเลือกปฏิบัติ อยางใน
               กรณีเครือรัฐออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรเอง ก็ยังคงมีขอยกเวนในสถานการณดังกลาว ไดแก หลักการ
               คุณลักษณะที่สําคัญอยางยิ่งตอการปฏิบัติงานประเภทนั้น ในคําพิพากษาศาลสูงในคดี X  v
               Commonwealth ของเครือรัฐออสเตรเลีย ในกรณีของการปฏิบัติหนาที่ทหาร ซึ่งใหความสําคัญกับสุขภาพ

               ที่แข็งแรง หรือในขอยกเวนในการไมปฏิบัติตามกฎหมายการเลือกปฏิบัติในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่ง
               ยกเวนไมบังคับในกรณีการประกอบอาชีพ เชน การรับราชการทหาร ตํารวจ และองคกรวิชาชีพ เชน เนติ
               บัณฑิตยสภา (รายละเอียดดูในบทที่ 2)
                       แมวาจะมีความพยายามใหมีการปรับปรุงแกไขระเบียบทั้ง 2 ฉบับในประเทศไทย แตดูเหมือนความ

               พยายามดังกลาวจะไมประสบผล การเลือกปฏิบัติในระดับกฎหมายในประเทศไทย จึงเปนเรื่องที่แกไขไดยาก
               ที่สุด อยางไรก็ดี สําหรับกรณีผูติดเชื้อที่ทํางานในองคกรเหลานั้นอยูแลวในประเทศไทย เชน ในสังกัดสํานักงาน
               ตํารวจแหงชาติ ก็มีการรับรองเปนลายลักษณอักษรวา จะใหการสนับสนุนและใหปฏิบัติงานตามปกติ
                       (2) การเลือกปฏิบัติระดับสถาบัน เปนระดับที่มีปญหากวางขวางที่สุด  โดยเฉพาะในนโยบายการรับ

               คนเขาทํางานในหลายประเภทกิจการ (รายละเอียดดูในตารางที่ 3) อยางไรก็ดี จากบทเรียนการดําเนินงาน
               ของกลไกที่มีสวนในการสงเสริมและคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อ การแกปญหาการเลือกปฏิบัติในระดับนี้ ดูจะมี
               ความหวังมากกวา โดยเฉพาะเมื่อสามารถทําความเขาใจกับนายจาง และสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิง

               นโยบายในองคกรเหลานี้ได แตความพยายามแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในระดับสถาบัน ไมวาจะเปนจาก
               มาตรฐาน ASO THAILAND หรือจากความพยายามของอนุกรรมการฯ ภายใต คช.ปอ. และองคกรในภาค
               ประชาสังคม มักจะประสบผลเฉพาะรายกรณี มีเพียงไมกี่กรณีที่สามารถผลักดันใหเปลี่ยนแปลงนโยบายของ
               องคกรในภาพรวมได



               5
                 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 วรรคสาม  “การเลือกปฏิบัติโดยไมเปนธรรมตอบุคคล
               เพราะเหตุแหงความแตกตางในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ
               บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไมขัดตอ
               บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ จะกระทํามิได”
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18