Page 23 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 23

14


                         การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ประกอบดวยแนวคิด 3 มิติ ไดแก มิติทางสังคม (Social) มิติทางเศรษฐกิจ
                  (Economic) และมิติทางสิ่งแวดลอม (Environment)  ซึ่งทั้ง 3 สวนนี้ จะตองมีความเชื่อมโยงและสัมพันธกัน
                                                              2
                  อยางสมดุล จึงจะเกิดความยั่งยืน (Sustainable) ดังนี้1

                         1) มิติการพัฒนาสังคม หมายถึง การพัฒนาคนและสังคมใหเชื่อมโยงกับการพัฒนาทางดานเศรษฐกิจ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไดอยางสมดุล โดยการพัฒนาประชากรในประเทศใหมีผลิตภาพสูงขึ้น
                  สามารถปรับตัวและรูเทาทันการเปลี่ยนแปลง มีจิตสํานึกและวิถีชีวิตที่เกื้อกูลตอธรรมชาติ มีสิทธิและโอกาสที่จะ
                  ไดรับการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชนจากการพัฒนาและคุมครองอยางทั่วถึงและเปนธรรม พึ่งพาตนเองได

                  อยางมั่นคง มีระบบการจัดการทางสังคมที่สรางการมีสวนรวมจากทุกฝาย รวมทั้งมีการนําทุนทางสังคมที่มีอยู
                  อยางหลากหลายมาใชไดอยางเหมาะสม เพื่อสรางสังคมใหเปนสังคมที่มีคุณภาพ มีการเรียนรูตลอดชีวิต และ
                  มีความสมานฉันทเอื้ออาทร

                         2) มิติทางเศรษฐกิจ หมายถึง การมีระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพอยางตอเนื่องในระยะยาว
                  มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยางมีคุณภาพ มีการพัฒนาอยางสมดุลและเอื้อประโยชนตอคนสวนใหญ

                  เปนระบบเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการแขงขัน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะตองมาจาก
                                                     3
                  กระบวนการการผลิตที่ใชเทคโนโลยีสะอาด 2  ลดปริมาณของเสียและไมทําลายสภาพแวดลอม ไมสรางมลพิษที่จะ
                  กลายเปนตนทุนในการผลิตระยะตอไป รวมทั้งอาจเปนขอจํากัดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพอยาง

                  ยั่งยืน
                         3) มิติทางสิ่งแวดลอม หมายถึง การใชทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในขอบเขตที่คงไว

                  ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและสามารถพลิกฟนใหกลับคืนสูสภาพใกลเคียงกับสภาพเดิมใหมากที่สุด
                  เพื่อคนรุนหลังจะไดมีโอกาสและมีปจจัยในการดํารงชีพ ซึ่งจะตองปรับเปลี่ยนทัศนคติในการใช
                  ทรัพยากรธรรมชาติที่มุงจัดการใหเกิดสมดุลระหวางการใชทรัพยากรธรรมชาติไดอยางเกื้อกูล รวมถึงการนํา

                  เทคโนโลยีสะอาดมาใชใหมากที่สุด














                  2
                    สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ, 2547.
                  3
                    เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
                  หรือผลิตภัณฑอยางตอเนื่อง เพื่อใหการใชวัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
                  กอใหเกิดผลกระทบ ความเสี่ยงตอมนุษยและสิ่งแวดลอมนอยที่สุดเทาที่จะเปนไปได โดยการลดมลพิษที่

                  แหลงกําเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นนอยที่สุดหรือไมมีเลย ดวยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใชซ้ําและการนํากลับมาใช
                  ใหม ซึ่งเปนการอนุรักษสิ่งแวดลอมและลดตนทุนการผลิตควบคูกันไป
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28