Page 25 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 25

16


                  2.2   กระบวนทัศนของรัฐตอการพัฒนาที่ยั่งยืน


                         แนวคิดเรื่อง “การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน” เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงผลกระทบทางลบที่เกิดจาก
                  การพัฒนาโดยเฉพาะอยางยิ่งผลกระทบจากการพัฒนาดานเศรษฐกิจเสรีนิยม โดยรัฐบาลมีการจัดทํา
                  ขอเสนอแนะตอการดําเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เชน การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน การพัฒนาที่บูรณาการ
                  และมีความสมดุลในมิติสังคม สิ่งแวดลอม และเศรษฐกิจ เพื่อนําไปสูเปาหมายที่เปนรูปธรรม คือ การสรางความ

                  เปนธรรมระหวางคนในสังคม รวมถึงการลดความเสี่ยงทางดานสิ่งแวดลอม และปญหาความขาดแคลนของ
                  ทรัพยากรซึ่งจะมุงสูสังคมที่มีระดับคุณภาพชีวิตที่สูงและมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุดไปพรอมกัน

                         การวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยไดศึกษาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจาก 3 สวน ไดแก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
                  สังคมแหงชาติ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย และแนวนโยบายในการบริหารราชการแผนดิน โดยศึกษา
                  เฉพาะเนนในสวนที่เกี่ยวกับกระบวนทัศนในดานเศรษฐกิจเปนหลัก


                         2.2.1 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐวา
                  ดวยการพัฒนาอยางยั่งยืน


                         หลักคิดเรื่องการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ถือเปนเจตจํานงรวมกันของประเทศที่กําหนดใหรัฐมีหนาที่ทั้ง
                  ในเรื่องความมั่นคงของประเทศอยางยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจอยางยั่งยืน และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงกําหนดแนวนโยบายพื้นฐานไว

                  เพื่อใหรัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายในการบริหารราชการแผนดินในการแถลงนโยบายตอ
                  รัฐสภา โดยคณะรัฐมนตรีที่จะเขาบริหารราชการแผนดินตองชี้แจงตอรัฐสภาใหชัดแจงวาจะดําเนินการใด
                  ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผนดินใหเปนไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ และตองจัดทํารายงาน
                                                                                   4
                  แสดงผลการดําเนินการ รวมทั้งปญหาและอุปสรรคเสนอตอรัฐสภาปละหนึ่งครั้ง3
                         1) ดานเศรษฐกิจ

                         การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตองอยูบนฐานของหลักความยุติธรรมของคนในสังคม ดังนั้น รัฐธรรมนูญ
                  แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 4 แนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ สวนที่ 7 แนวนโยบาย

                  ดานเศรษฐกิจ จึงกําหนดหลักการในการที่รัฐตองดําเนินการเกี่ยวกับแนวนโยบายทางดานเศรษฐกิจ ดังตอไปนี้
                                                                                                    5
                             (1) รัฐตองสงเสริมและสนับสนุนใหมีการดําเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง4
                                                                             6
                             (2) รัฐตองดําเนินการตามแนวนโยบายดานเศรษฐกิจ ดังนี้5






                  4
                     รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 75 บัญญัติวา “บทบัญญัติในหมวดนี้เปน
                  เจตจํานงใหรัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายในการบริหารราชการแผนดิน
                  5
                    รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 83
                  6
                    รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 84
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30