Page 13 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 13

4

                  ความหลากหลายของผูประกอบกิจการทั้งรายใหญ กลาง และขนาดเล็ก และเปนอาชีพของคนในชุมชน
                  ตองเปลี่ยนเปนเหลือจํานวนผูประกอบกิจการรานคาปลีกนอยราย และโอกาสในการประกอบอาชีพนี้

                  ไดลดลง โดยที่ยังไมมีการตรากฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมการขยายตัวของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญ และ
                  การบังคับใชมาตรการทางกฎหมายที่มีอยูยังไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร ปรากฏการณที่เกิดขึ้นจึงนับเปน
                  การสูญเสียโอกาสในการพัฒนาของประเทศตามแนวทางการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืนและแนวทาง

                  เศรษฐกิจพอเพียงได การมุงเนนใหประชาชนพึ่งพากลุมทุนขนาดใหญและละเลยการพัฒนาศักยภาพของ
                  กลุมทุนรายเล็กซึ่งสวนใหญเปนประชาชนในชุมชนทองถิ่น ยอมสงผลระยะยาวตอการพัฒนา
                  ขีดความสามารถของคนในสังคมและความเขมแข็งของชุมชนในการอยูรอดไดดวยการพึ่งตนเองของ
                  ประเทศตอไป


                         1.1.2 ภูมิหลัง ประวัติ และวิวัฒนาการของปญหาที่นํามาสูโจทยวิจัย


                         การที่กลุมทุนคาปลีกขนาดใหญจากตางประเทศไดเขาสูตลาดคาปลีกของประเทศไทยอยางรวดเร็ว
                  และตอเนื่อง นับแตป พ.ศ. 2540 เปนตนมานั้น เปนผลที่สืบเนื่องจากการเกิดปญหาวิกฤตการณทาง

                  เศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีผลทําใหผูประกอบธุรกิจหลายรายตองประสบปญหาเรื่องหนี้สิน
                  มีผูประกอบการจํานวนมากมีปญหาจนถึงขั้นตองปดกิจการหรือลมละลาย และสงผลกระทบตอระบบสถาบัน
                  การเงินในเรื่องหนี้เสียที่สูงกวาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นไดตามปกติ (Non Performance  Loan : NPL)

                  ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศกําลังประสบปญหาขาดสภาพคลองทางการเงิน จึงเปนโอกาสที่ดี
                  ของกลุมทุนตางชาติที่เขามาแสวงหาความไดเปรียบเรื่องอํานาจตอรองทางการคา การลงทุน และเศรษฐกิจ
                  เชน การเขามาซื้อกิจการ การลงทุน การเก็งกําไร หรือการซื้อหุนในธุรกิจการคา เปนตน

                         ธุรกิจคาปลีกกลุมทุนไทยบางกลุมอยูในสภาพจํายอมที่ตองขายหุนหรือกิจการใหแกกลุมทุน
                  ตางชาติเพื่อความอยูรอด มีขอเท็จจริงพบวา ชวงเวลาดังกลาวธุรกิจคาปลีกขนาดใหญหรือหางคาปลีก

                  สมัยใหม (Modern Trade)  ของไทย ไดแก หางบิ๊กซี  หางเทสโกโลตัส และหางคารฟูร ไดมีการขายหุน
                  สวนใหญใหแกกลุมธุรกิจคาปลีกตางชาติขนาดใหญ กลาวคือ

                         1) หางบิ๊กซี ซึ่งแตเดิมเจาของกิจการเปนกลุมธุรกิจคาปลีกในเครือเซ็นทรัล (กลุมทุนไทย) ตอมาใน
                  ป พ.ศ. 2542 บริษัท Casino  Guichard  -  Perrachon  ซึ่งเปนกลุมทุนคาปลีกประเทศฝรั่งเศส ไดเขามา
                  เพิ่มทุนและกลายเปนผูถือหุนใหญ

                         2) หางเทสโกโลตัส ซึ่งแตเดิมเปนกิจการของบริษัทเอกชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จํากัด ในเครือ

                  เจริญโภคภัณฑ (กลุมทุนไทย) ใชชื่อหางวา โลตัส โดยในป พ.ศ. 2541 ไดขายใหกับกลุมเทสโกซึ่งเปนกลุม
                  ธุรกิจคาปลีกขามชาติจากสหราชอาณาจักร และเปลี่ยนชื่อหางเปนเทสโกโลตัส

                         3) หางคารฟูร ซึ่งเปนธุรกิจรวมทุนกันระหวางบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอรเปอเรชั่น และบริษัท คารฟูร
                  เนเธอรแลนดบีวี มีอัตราสวน 60:40 ในนามบริษัทเซนคาร จํากัด แตภายหลังบริษัท เซ็นทรัลรีเทล
                  คอรเปอเรชั่น ประสบปญหาอันเปนผลจากวิกฤติเศรษฐกิจ ทําใหบริษัทฯ ตองจํานองหุนระยะยาวใหกับ

                  บริษัท คารฟูร จึงเสมือนกับกลุมทุนตางชาติมีหุนขางมาก จนในที่สุด เมื่อป พ.ศ. 2553 ทางบริษัท คารฟูร
                  เนเธอรแลนดบีวีไดถอนการลงทุนในประเทศไทย และกลุมคาสิโนไดชนะการประมูลกิจการคารฟูร
                  ในประเทศไทยจึงทําใหกิจการของหางคารฟูรรวมเปนของหางบิ๊กซี

                         การเขามาของกลุมทุนธุรกิจคาปลีกตางชาติ ทําใหเกิดความเปลี่ยนแปลงอยางมากในธุรกิจคาปลีก
                  ของประเทศไทย เพราะกลุมทุนดังกลาวมีศักยภาพดานการลงทุน (เงินทุน) ดานเทคโนโลยี และมีแผน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18