Page 297 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 297
219
ภาคผนวกที่ 6
รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1
โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง
“การจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”
วันที่ 13 กันยายน 2554 ณ โรงแรม ที. เค. พาเลส ถนนแจ้งวัฒนะ กทม.
1. หลักการและเหตุผลโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Indicators) เป็นเครื่องมือการเฝูาระวังสถานการณ์
สิทธิมนุษยชน ทั้งทางด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้รัฐได้
บรรลุถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้มีการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(Universal Declaration of Human Rights) และตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ใช้เป็นมาตรฐานเบื้องต้น
หรือเป็นเครื่องมือสําหรับการตรวจสอบและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในการจัดทํารายงาน
ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจําปีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และเพื่อ
ประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์หลักของการจัดทําตัวชี้วัด เพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐในการ
ดําเนินการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยตัวชี้วัดจะเป็นเครื่องมือที่จะกําหนดทิศทางในการส่งเสริม
พัฒนาสิทธิมนุษยชน โดยจะช่วยให้รัฐประเมินว่าสิทธิด้านใดที่ควรจะต้องส่งเสริม ปกปูอง คุ้มครอง
หรือทําให้เป็นจริง ตัวชี้วัดยังสามารถใช้กําหนดเปูาหมายการเปรียบเทียบวัดหรือเป็น Benchmark
ในการพัฒนาส่งเสริมสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับชาติ และระดับหน่วยงาน เพื่อให้ดียิ่งขึ้นตามลําดับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 และพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 กําหนดให้ กสม. มีหน้าที่จัดทํารายงาน
ประจําปี เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และเสนอต่อรัฐสภา รายงาน
ดังกล่าวจึงควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของตัวชี้วัด
ด้วยเหตุดังกล่าว สํานักงาน กสม. จึงได้มีการมอบหมายให้ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและ
สันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทําการศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัด
เบื้องต้นขึ้น โดยมีกรอบระยะเวลาทําการศึกษาหกเดือน
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย-
ธรรมาธิราช ด้วยการสนับสนุนของสํานักงาน กสม. จึงได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น เพื่อ
ระดมความคิดจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ปัจจัย และ
กระบวนการในการจัดทําตัวชี้วัด รวมถึงพิจารณา (ร่าง) ชุดตัวชี้วัดเกี่ยวกับสิทธิบางด้าน เพื่อให้ได้
แนวทางที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการพัฒนาตัวชี้วัด
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1