Page 22 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 22

11


                      หรือจับกุมอาชญากรมาลงโทษตามกฎหมายได้นั้น ย่อมกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย

                      ของสังคม และเสรีภาพของประชาชนผู้สุจริตที่ถูกคุกคามจากภัยอาชญากรรม  ถ้าหากเจ้าหน้าที่ของ

                      รัฐไม่สามารถจับกุมผู้กระท าความผิดมาลงโทษได้แล้ว  ความไม่น าพาไม่เคารพต่อกฎหมายก็จะ
                      เพิ่มมากขึ้น  สิทธิของสุจริตชนจะถูกรุกล้ าและผลประโยชน์จะถูกล่วงละเมิด  เกิดความไม่สงบ

                      เรียบร้อยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

                                                 กลุ่มอนุรักษ์นิยมซึ่งนิยมในรูปแบบของ  Crime  control  model จะเน้นในเรื่อง

                      การใช้อ านาจรัฐและอ านาจของเจ้าหน้าที่ต ารวจในการจ ากัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมือง  ไม่สนใจ

                      ในเรื่องสภาพเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาอาชญากรรม  ก่อให้เกิดความล้มเหลว
                      ตามมานั่นก็คือ  สถิติอาชญากรรมและคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น  คุณภาพชีวิตลดลง

                      จึงไม่แปลกใจในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเช่นนั้น  ในขณะเดียวกันระบบกฎหมาย  หลักการและทฤษฎีทาง

                      สังคมและการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชนตกอยู่ในภาวะอันตราย  ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ท า

                      ให้เกิดความเหลื่อมล้ าในทางเศรษฐกิจ  และต้องตกอยู่ในภาวะที่ไร้การตรวจสอบหรือถ่วงดุล

                      ในการใช้อ านาจท่านั้น   แต่ยังท าให้หลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคตาม
                      รัฐธรรมนูญได้อ่อนแอตามลงไปด้วย ( Ibid. , p. 324)

                                                   กระบวนการทางอาญาของรัฐจะต้องให้หลักประกันต่อสังคม  และการที่จะ

                      บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น จะต้องปรับปรุงและเพิ่มพูนประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม

                      เช่น การสืบสวนสอบสวน  การด าเนินคดีอาญา  การพิสูจน์ความผิดและการปฏิบัติต่อผู้กระท าผิด
                      กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ การด าเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ  ในกระบวนการยุติธรรม

                      จะต้องมีความรวดเร็วและแน่นอน  ขั้นตอนในกระบวนการทางอาญาจะต้องไม่มีแบบพิธีที่เป็นอุปสรรค

                      ต่อการด าเนินคดี  การค้นหาข้อเท็จจริงในคดีจะพยายามให้ยุติ  ในชั้นต้นของกระบวนการยุติธรรม

                      ให้มากที่สุด ทฤษฎีนี้เชื่อว่าการด าเนินงานตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมต้องรวบรัดสม่ าเสมอ
                      ไม่หยุดชะงัก มีประสิทธิภาพ  และต้องยอมรับว่าการค้นหาข้อเท็จจริงในชั้นเจ้าหน้าที่ต ารวจและ

                      พนักงานอัยการเพียงพอที่จะเชื่อถือได้

                                       จะเห็นได้ว่าทฤษฎีนี้มุ่งการควบคุมอาชญากรรมเป็นส าคัญ   (The  Crime

                      Control  Model)  โดยเน้นหนักและเข้มงวดกับการควบคุมปราบปรามอาชญากรรมอย่างเต็มที่

                      ส่วนเรื่องของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเป็นเรื่องรองลงไป  ดังนั้น  การด าเนินการในแต่ละ
                      ขั้นตอนของกระบวนการทางอาญาตามทฤษฎีนี้  จึงมีลักษณะที่เป็นไปอย่างเร่งรีบ รวดเร็ว ตอบโต้

                      กับปัญหาอาชญากรรมอย่างเฉียบขาด ฉับพลัน ไม่มีการหยุดชะงักและเกิดอุปสรรคระหว่างการ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27