Page 17 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 17

6


                      สิทธิมนุษยชนได้ตามอ าเภอใจ  ก่อให้เกิดการทุกข์ยากแก่ประชาชน  อริสโตเติ้ล กล่าวถึงความเป็น

                      ธรรมชาติว่าเป็นความเป็นธรรมที่สมบูรณ์ ต่างกับสิ่งซึ่งเป็นธรรมตามกฎหมายอันความเป็นธรรมที่

                      ไม่สมบูรณ์  สิทธิมนุษยชน จึงมีรากฐาน จากแนวความคิดอุดมคติในเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ ด้วย
                      ความคิดที่ว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน จากความคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติและสิทธิทาง

                      ธรรมชาตินี้เอง ได้วิวัฒนาการมาสู่การจัดท าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ

                      สหประชาชาติในที่สุด

                                  องค์กรสหประชาชาตินั้น ก็ได้ด าเนินการให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                      ตามหลักการที่บัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในหลายด้าน เช่น การจัดท าอนุสัญญา
                      หรือข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อน าหลักการของปฏิญญาฯ มาด าเนินการให้สิทธิมนุษยชนได้มีผล

                      เป็นสิทธิตามกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะ

                      อย่างยิ่ง การจัดท าอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็ก ค .ศ.  1989  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือก

                      ปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค .ศ.  1979  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิ

                      ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) และกติการะหว่างประเทศ
                      ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  (International Covenant on Economic Social

                      and Cultural Rights) ซึ่งถือเป็นผลงานที่ส าคัญยิ่งและวางรากฐานที่มั่นคง ส าหรับการส่งเสริมและ

                      คุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                      2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                      ทางอาญา
                                  ผู้วิจัยได้น าแนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการวิจัยครั้งนี้มาน าเสนอพอสังเขป  ดังนี้

                                  สาระส าคัญของกระบวนการทางอาญานั้น  เป็นผลมาจากแนวความคิดของนักปราชญ์

                      ในยุคศตวรรษที่   18-19  และแนวความคิดยุคต่าง ๆ ที่สะสมกันมา  ซึ่งกระบวนการทางอาญา

                      (Criminal  Process)    นี้ถือเป็นกระบวนการที่ท าให้เราได้ทราบถึงการกระท าผิด ผู้กระท าผิด และ

                      การด าเนินการเพื่อน าตัวผู้กระท าผิดมารับโทษตามความผิดที่ตนได้กระท า  ส่วนหลักเกณฑ์แนว
                      ทางการด าเนินกระบวนการทางอาญาเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางของกระบวนการด้วยดีนั้น

                      ก็คือ รูปแบบของกระบวนการทางอาญา   (The  Criminal  Process  Model)  โดยเป็นสิ่งชี้น าการ

                      ด าเนินกระบวนการทางอาญาให้เป็นไปตามวิธีการตามหลักเกณฑ์ที่มีการก าหนดรูปแบบเอาไว้
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22