Page 19 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 19

8


                                       ความแตกต่างระหว่าง  Crime  Control  Model   กับ  Due  Process  Model

                      จึงอยู่ที่วิธีปฏิบัติ  การทีให้น้ าหนักกับทฤษฎี Crime Control Model  มากเกินไปอาจส่งผลให้สังคม

                      ยอมรับการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐได้  เช่น  การล่อลวง  ข่มขู่  การจับ  การค้น
                      ที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน  ซึ่งอาจส่งผลให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกล่วงละเมิดได้โดยง่าย

                                       ในปัจจุบันนี้ความเป็นจริงแล้ว  ไม่มีประเทศใดใช้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งโดยเคร่งครัด

                      แต่จะเป็นการผสมทฤษฎีทั้งสอง  อย่างไรก็ตาม การใช้ทฤษฎี  Due Process Model เป็นหลักการ

                      ในอุดมคติที่นักนิติศาสตร์แสวงหา  เช่น  ระบบความยุติธรรมทางอาญาของสหรัฐอเมริกา  อาจกล่าว

                      ได้ว่ามีหลักการที่ใกล้เคียงกับทฤษฎี Due Process Model มากกว่าระบบของประเทศอื่น  ตามกฎหมาย
                      รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา  วิธีการด าเนินคดีต่อผู้ต้องหาจะต้องใช้หลักของความเป็นธรรมและ

                      วิธีพิจารณาความตามกฎหมาย  จะต้องให้ความคุ้มครองบุคคลตามมาตราฐานขั้นต่ า ภายใต้

                      หลักแห่งเสรีภาพ (Liberty)

                                       ด้วยความเชื่อดังกล่าว  ทฤษฎีนี้จึงยึดหลักนิติธรรมทั้งหลาย  เช่น  การจับกุม

                      คุทขัง  ตรวจค้น  จะต้องท าอย่างมีระบบ  และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย  จะต้องถือว่าบุคคล
                      ผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธ์อยู่ตลอดเวลา  จนกว่าผู้ที่มีอ านาจตามกฎหมายที่เป็นกลางได้พิจารณา

                      พิพากษาชี้ขาดแล้วว่าเขาเป็นผู้กระท าความผิด   ในแง่ของการสืบสวน ทฤษฎีกระบวนการ นิติธรรม

                      จะให้ความส าคัญกับสิทธิส่วนตัวของบุคคล ( Privacy  Right)  การไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานที่

                      ได้มาโดยมิชอบ ( Exclusionary  Rule) รวมทั้งการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบก่อนว่าตนมีสิทธิ
                      อย่างไรด้วย (ประธาน วัฒนวาณิชย์, “ระบบความยุติธรรมทางอาญา :แนวความคิดเกี่ยวกับการ

                      ควบคุมอาชญากรรมและกระบวนการนิติธรรม”, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่   2 ปีที่ 9 (ก.ย. - พ.ย.

                      2520), หน้า 152)

                                       เนื่องจาก  การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนที่เกี่ยวกับคดีอาญา  โดยความ
                      เป็นจริงแล้ว  ได้ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนบ้างไม่มากก็น้อย

                      การจับ  การค้น  การควบคุม  ฯลฯ  ประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายได้ให้ความส าคัญกับเรื่อง

                      เหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาในเรื่องของการใช้หลักนิติ

                      ธรรมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน  และแนวความคิดเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อหลาย ๆ ประเทศ  รวมทั้ง

                      ประเทศไทยด้วย  ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นธรรมทางอาญาผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา
                      (U.S.  Supreme  Court) ได้วางหลักการในเรื่องนี้ไว้มากมาย  พอสรุปได้ดังนี้ ( เรื่องเดียวกัน, หน้า

                      145-155)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24