Page 21 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 21
10
นอกจากนี้ มีงานเขียนซึ่งเป็นบทความของ เฮนรี เฟรนด์ลี ซึ่งได้แบ่งวิธีพิจารณา
ที่ชอบด้วยกระบวนการของกฎหมาย (Due process of law) ออกเป็น 10 ส่วน แต่ละส่วนมีความส าคัญ
ตามล าดับก่อนหลังดังนี้ (Henry Friendly, Some Kind of Hearing, University of
Pennsylvania Law Review 123:1278(1975))
1. องค์กรวินิจฉัยที่ปราศจากอคติ
2. การแจ้งเรื่องที่จะกระท าและเหตุที่มาของการกระท า
3. โอกาสที่จะเสนอเหตุผลว่า เพราะเหตุใดการดังกล่าวจึงไม่ควรที่จะกระท า
4. สิทธิที่จะเสนอพยานหลักฐาน รวมทั้งสิทธิที่จะขอให้เรียกบุคคลมาเป็นพยาน
5. สิทธิที่จะรับรู้พยานหลักฐานจากฝ่ายตรงข้าม
6. สิทธิที่จะถามค้านพยานฝ่ายตรงข้าม
7. ค าวินิจฉัยที่อาศัยพยานหลักฐานที่เสนอมาเท่านั้น
8. โอกาสที่จะให้ทนายท าการแทน
9. ข้อก าหนดที่บังคับให้องค์กรวินิจฉัยจัดให้มีส านวนความเกี่ยวกับพยานหลักฐาน
ที่เสนอมา
10. ข้อก าหนดที่บังคับให้องค์กรวินิจฉัยจักให้มีการฟังข้อเท็จจริง และแหตุผล
และค าวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษร
แม้ว่าในสังคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแม่แบบที่ส าคัญของการใช้หลัก
Due Process of law แต่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของคนในประเทศก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะสิทธิ
ของคนกลุ่มน้อยหรือคนผิวด า หากกระท าความผิดก็จะถูกจับกุมและได้รับโทษมากกว่าคนผิวขาว
และเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ใช้วิธีการปราบปรามต่อพวกเขาเหล่านั้นด้วยวิธีการที่รุนแรง ซึ่งวิธีการดังกล่าว
ไม่สามารถลด หรือช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ กล่าวคือ เมื่อปี 1990 มีนักโทษที่ถูกจ าคุกอยู่ใน
เรือนจ าของสหรัฐอเมริกามากกว่าล้านคน ซึ่งมีจ านวนมากกว่า 3 เท่าของเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน
นักโทษของประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมันรวมกัน มีจ านวนเพียง 1 ใน 3 ของจ านวนนักโทษ
ที่ถูกจ าคุกอยู่ของประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น( David Kairy , The Politics of Law , p.314)
2.2.2 ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม (The Crime Control Model)
การควบคุมปราบปรามอาชญากรรมเป็นหน้าที่ที่ส าคัญที่สุดของกระบวนการ
ทางอาญา ทฤษฎีนี้เชื่อว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถจะควบคุมและปราบปรามอาชญากรรม