Page 18 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 18
7
แนวความคิดในเรื่องคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาทฤษฎีว่าด้วยการให้
ความยุติธรรมทางอาญาที่ขัดกันอยู่ตลอดเวลา คือ ทฤษฎีกระบวนการยุติธรรม (The Due
Process Model) และทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม (The Crime Control Model)
2.2.1 ทฤษฎีกระบวนการยุติธรรม (The Due Process Model)
ถือเป็นทฤษฎีที่มีรูปแบบที่ยึดกฎหมายเป็นส าคัญ โดยเน้นหนักในหลัก
กฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ว่าคนจะผิดได้ต้องผ่านการตัดสินของศาล การ
ด าเนินคดีจะต้องกระท าลงไปโดยมิให้ผิดพลาดได้ ไม่มีอคติและไม่ใช้อ านาจในทางที่ผิดผู้บริสุทธิ์
จะต้องได้รับการคุ้มครอง ผู้กระท าผิดก็ควรได้รับการลงโทษ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของรูปแบบนี้
ต้องด าเนินไปตามวิธีที่ท าให้เชื่อได้ว่าความเป็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่ถูกสงสัยว่ากระท าความผิด
จึงยังเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า เขาเป็นผู้ที่กระท าผิดจริง ทั้งนั้นเพราะแนวความคิดนี้
ยึดถือหลักกฎหมายหรือหลักนิติธรรม (Rule of Law) มากกว่าการควบคุมอาชญากรรม ทฤษฎีนี้
จึงไม่ยอมรับการได้พยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานได้มาจากการกระท าการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
และอาจพิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องหาไป
ซึ่งท่านอาจารย์ ประธาน วัฒนวาณิชย์ ผู้เขียนบทความในเรื่องนี้อธิบาย
เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ไว้ว่า “ทั้งนี้มิได้หมายความว่า อุดมการณ์ของทฤษฎีนี้แตกต่างจากทฤษฎีการ
ควบคุมอาชญากรรม แต่ว่าทฤษฎีกระบวนการนิติธรรมยึดหลักกฎหมายหรือหลักนิติธรรมมากกว่า
ความคิดในเรื่องการควบคุมอาชญากรรม และไม่เชื่อว่า ความคิดในการควบคุมอาชญากรรม
อย่างที่กล่าวมาข้างนั้นจะมีประสิทธภาพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งกระท า
โดยเจ้าหน้าที่ต ารวจและอัยการหรือฝ่ายปกครองจะเชื่อถือได้เพียงใด เพราะวิธีการปฏิบัติของ
ต ารวจและอัยการด าเนินงานในที่รโหฐาน ซึ่งอาจจะใช้วิธีล่อลวง ขู่เข็ญ หรือการสร้าง
พยานหลักฐานขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นแนวความคิดของทฤษฎีกระบวนการยุติธรรม จึงไม่เห็นพ้องด้วย
กับการแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างไม่เป็นทางการของทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม และต้องให้มีการ
พิจารณาคดีหรือไต่สวนผู้ต้องหาอย่างเป็นทางการ และเปิดเผยในศาลยุติธรรม ทั้งในปัญหา
ข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายต่อหน้าองค์คณะของผู้พิพากษาที่เป็นกลาง ไม่ล าเอียงเข้ากับ
ฝ่ายใด”
กระบวนการแบบ Due Process Model จะเน้นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐาน
ที่เชื่อถือได้ ชอบด้วยขั้นตอนของกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ด าเนินคดีไปตามขั้นตอนต่าง ๆ
อย่างครบถ้วนแล้ว ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจหรือปล่อยตัวจ าเลยไป หรืออาจให้พิจารณาคดีใหม่ได้