Page 20 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 20

9


                                       1.  ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา  จ าต้อง

                      ก าหนด ปทัสฐาน( Norm)  ที่เป็นมาตราฐานที่แน่นอน   ชัดแจ้ง โดยไม่มีที่สงสัย  เพื่อให้บุคคล

                      ประพฤติปฏิบัติตามได้โดยถูกต้อง
                                       2.  การตั้งข้อหา  และการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ  หมายความว่าการ

                      กล่าวหาบุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องแจ้งให้บุคคลนั้นทราบถึงลักษณะของความผิดและข้อหา

                                       3.  การฟ้องคดีโดยไม่ชักช้า  หมายความว่าผู้ถูกจับกุมในคดีอาญาจะถูก

                      ด าเนินคดีในศาลโดยปราศจากการชักช้าโดยไม่จ าเป็น

                                       4.  สิทธิที่จะไม่ให้การเป็บปฏิปักษ์ต่อตนเอง  การบีบบังคับให้ผู้ต้องหารับ
                      สารภาพโดยใช้ก าลังบังคับ  ขู่เข็ญ  ชักจูงใจ  หรือใช้สงครามจิตวิทยา  และวิธีการที่ไม่สมควรจะ

                      กระท ามิได้  เช่นพยานหลักฐานที่ได้มาจากการสะกดจิต  ศาลไม่ยอมรับฟัง

                                       5.  ห้ามมิให้ท าการค้นและจับโดยไม่มีเหตุผล  ความมุ่งหมายของกฎหมายก็

                      เพื่อที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลในกรณีที่ถูกจับโดยไม่มีเหตุอันสมควร  รวมทั้งการค้นและการ

                      ยึดทรัพย์สินโดยไม่มีหมาย  จะไม่สามารถน าพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนี้ไปใช้ยันจ าเลยใน
                      ศาลได้

                                       6.  สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางด้านกฏหมายจากรัฐ  สิทธิดังกล่าวนี้จะ

                      เริ่มต้นเมื่อบุคคลได้ถูกเจ้าหน้าที่สืบสวนว่ากระท าผิดกฎหมาย  ผู้ต้องหาที่ยากจนทุกคนจะขอให้รัฐ

                      จัดหาทนายความให้แก่ตนได้ถ้าถูกกล่าวหาในคดีอุกฉกรรจ์
                                       7.  การพิจารณาคดีโดยลูกขุน

                                       8.  สิทธิที่จะเรียกพยานฝ่ายตนและซักค้านพยานฝ่ายตรงข้าม  สิทธิในที่นี้

                      เป็นสิทธิในคดีอาญา  ไม่รวมถึงการพิจารณาคดีปกครองหรือการพิจารณาโดย Grand Jury

                                       9.  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีจากผู้พิพากษาที่เป็นกลาง  ไม่ฝักใฝ่
                      คู่ความฝ่ายใด  หมายความว่าอัยการ

                                       10.  สิทธิที่จะได้รับการฟ้องร้องจากอัยการที่เป็นกลาง  ไม่ฝักใฝ่คู่ความฝ่ายใด

                      หมายความว่าอัยการจะต้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ทั้งของรัฐและจ าเลย

                                       11.  ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธ์  หมายความว่าทนายความของรัฐ

                      จะต้องพิสูจน์ความผิดของจ าเลยโดยปราศจากข้อสงสัย  และหน้าที่น าสืบเป็นของรัฐ  ไม่ใช่เป็น
                      ของจ าเลย

                                       12.  ห้ามมิให้ลงโทษจ าเลยด้วยความทารุณโหดร้าย  และวิปริตผิดธรรมดา

                                       13.  สิทธิที่จะได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์พอสมควร
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25