Page 23 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 23

12


                      ด าเนินการในขั้นตอนของกระบวนการเป็นการเปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลพินิจการ  กลั่นกรองอย่าง

                      กว้างขวางในขั้นปฏิบัติการ

                                       ในรูปแบบทั้งสองทฤษฎีต่างก็มีเหตุผลแนวความคิดที่สนับสนุนของตนเอง แต่ก็
                      มีวัตถุประสงค์ที่เป็นจุดหมายเดียวกัน คือ  เป็นการท าให้บรรลุผลของกระบวนการทางอาญาที่

                      สามารถคุ้มครองผู้บริสุทธิ์และลงโทษผู้กระท าผิด  อันน าไปสู่ความสงบเรียบร้อยในสังคมได้  แม้จะมี

                      แนวทางที่แตกต่างกันก็ตาม

                                       แนวความคิดทั้งสองทฤษฎีได้มีข้อดีและข้อบกพร่องที่แตกต่างกันไป   ในส่วน

                      ของรูปแบบทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม   (The  Crime  Control  Model)    มีการก าหนดวิธีการ
                      ด าเนินการที่รวดเร็วเด็ดขาด เน้นประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย  ท าให้มีการด าเนินการได้

                      รวดเร็ว ทันต่อความพัฒนาการของอาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงไป  สามารถตอบโต้ได้อย่างฉับพลัน

                      แต่มีข้อบกพร่องตรงที่ว่า มีอ านาจมาก มีการใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวาง เมื่อเป็นเช่นนี้อาจท าให้มี

                      การใช้อ านาจไปในทางที่มิชอบ หรือเป็นลักษณะ   “แบบอ าเภอใจ”    (Arbitrary)    จะมีลักษณะ

                      กลายเป็นผู้ก่ออาชญากรรมเป็นอันตรายต่อสังคมเสียเอง  รูปแบบนี้จึงต้องแก้ไขที่การควบคุม
                      (Control)  อ านาจ  โดยค านึงถึงสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลบ้าง

                                       ส่วนรูปแบบทฤษฎีกระบวนการนิติธรรม   (The Due Process Model)  มีข้อดี

                      ที่ให้ความส าคัญต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้ถูกกล่าวหาได้รับการคุ้มครอง  โดยได้รับการ

                      สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การพิจารณาต้องกระท าให้เกิดความเป็นธรรมทุกขั้นตอน ตั้งแต่สืบสวน
                      จับกุม สอบสวน  จนถึงการพิจารณาคดี  รูปแบบนี้มีข้อเสียคือ  หากให้ความส าคัญต่อการคุ้มครอง

                      สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมากเกินไป  ก็อาจท าให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมได้รับผลกระทบจาก

                      การคุ้มครองสิทธินั้น ท าให้อาชญากรมีโอกาสหลุดพ้นการลงโทษ  เป็นอันตรายต่อความสงบสุข

                      ของสังคม
                                       จึงเห็นได้ว่ารูปแบบทั้งสองทฤษฎีดังกล่าวมีความแตกต่างก็เพราะวิธีปฏิบัติ

                      (Procedure)  หากแต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถน าทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาใช้แต่เพียงอย่าง

                      เดียวได้  เรายังต้องมีการผสมผสานกันของทั้งสองรูปแบบ  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อกระบวนการ

                      ทางอาญาที่เหมาะสมต่อไป กล่าวคือ โดยเราต้องก าหนดจุดแห่งความพอดีของรูปแบบทั้งสองให้

                      เข้ากับกระบวนการทางอาญา สุดแล้วแต่จะโน้มเอียง  เน้นหนักไปในรูปแบบใด หรือมีการวาง
                      โครงสร้างในลักษณะไหน  ซึ่งผลสุดท้ายวัตถุประสงค์ที่หวังกันก็คือ  ความสงบเรียบร้อยของสังคม


                      และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนโดยไม่จ าเป็น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28