Page 43 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 43
๔๒
ในระหว่างที่บรรยากาศการเมืองในประเทศไทยคุกรุ่นไปด้วยขบวนการนักศึกษา ๑๔ ตุลา ๑๖
และ ๖ ตุลา ๑๙ ตลอดจนกระบวนการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในรูปแบบของสหภาพแรงงาน
อุตสาหกรรม คุณแจ่มศรีกําลังศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ คุณพรพิมลเข้าร่วมการต่อสู้ภาคประชาชน
ร่วมกับขบวนการนักศึกษาในประเทศไทย การต่อสู้ในยุคสมัยนั้นยังคงเป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อช่วงชิง
อํานาจรัฐและเพื่อความเท่าเทียมระหว่างชนชั้น แต่เนื้อหาการต่อสู้ของคุณแจ่มศรีและคุณพรพิมล
ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง แต่เป็นเรื่องของพนักงานหญิงขอความเป็นธรรมในการทํางานในฐานะผู้หญิงจาก
ผู้บริหาร คุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลไม่ใช่พนักงานที่มาจากชนชั้นกรรมกร แต่เป็นคนชนชั้นกลางที่มี
การศึกษา ถ้าหากนับเป็นคนใช้แรงงานก็เป็นประเภทคนงานนั่งโต๊ะ (
White-collar worker) เป็น
คนงานนั่งโต๊ะที่ใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตและการยืนหยัดต่อสู้เพื่อให้คุณภาพชีวิตของตนและเพื่อน
ร่วมงานดีขึ้น จะเรียกได้ว่าเป็นความพยายามที่จะปกป้ องสิทธิของปัจเจกบุคคลที่เป็นพนักงานบริษัท
การบินไทยก็ว่าได้ คุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลเข้าร่วม “กระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติความรุนแรง
ต่อผู้หญิง” (กฤตยาและกนกวรรณ 2545) เพราะประสบกับเหตุการณ์ เช่น เธอทั้งสองเกือบจะต้อง
เปลี่ยนงานจากการต้อนรับบนเครื่องบินมาเป็นการให้บริการภาคพื้นดินเมื่ออายุครบ ๔๕ ปี และ เธอ
ประสบกับหลากหลายกรณีที่พนักงานหญิงรุ่นน้องถูกล่วงละเมิดทางเพศและเธอทั้งสองต้องช่วย
เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่รุ่นน้องเหล่านี้ เหตุที่ประสบด้วยตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าที่ตอกยํ้าให้เห็น
ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับลูกผู้หญิงทําให้คุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลคิดเพียงแค่ต้องการร้องขอ
ความเป็นธรรมให้แก่ลูกผู้หญิงบ้าง การต่อสู้ของ “สหภาพ” ยุคแจ่มศรีจึงเป็นกระบวนการประชาสังคม
ยุคใหม่ที่มี “ประเด็น” ในการต่อสู้ ซึ่งไม่ใช่ “ประเด็น” ของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง หากแต่ทุกชนชั้นทาง
สังคมเข้าร่วมด้วยช่วยกันได้ ผู้ร่วมกระบวนการประชาสังคมของ “สหภาพ” จึงมาจากหลายชนชั้น
ดังเช่นที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงใน
สังคมไทย ซึ่งเป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ในประเทศไทย
นักวิจัยเชื่อว่าการเสาะหาคนที่คิดเหมือนกันคุยกันรู้เรื่อง เช่นที่คุณแจ่มศรีและคุณพรพิมลได้
พบเจอกัน จากนั้นจึงร่วมกันสู้กับสังคมชายเป็นใหญ่ หรือเรียกว่าสู้กับสิ่งที่ทั้งชายและหญิงในสังคมคิด
ว่า “ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย คิดมากไปหรือเปล่า จับก้นนิด หอมแก้มหน่อย ไถลไปถูกหน้าอกบ้างจะ
เป็นไรไป มันเป็นธรรมชาติของผู้ชายอยู่แล้ว” สิ่งเหล่านี้ย่อมหาคนคุยกันรู้เรื่องยากมากในอดีต แต่
ปัจจุบันความยากลดน้อยลงไปมาก คนในสังคมไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าหากตนมีลูกสาว ต่างก็ไม่อยากจะ
ให้ลูกสาวถูกเอารัดเอาเปรียบจากชายและหญิงที่ยกให้ “ความต้องการ” ของผู้ชายเป็นใหญ่