Page 47 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 47

๔๖

                          มันเหมือนกับเรากลายเป็นต้องดูแลตัวเอง ต้องช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะทําได้
                          ในสถานการณ์นั้น หนูได้ยินมาเหมือนกันว่ามีเรื่องไปก็มากสุดก็ได้เงินชดเชย
                          เท่าไหร่ล่ะคะ หมื่นหนึ่ง หนูไม่เอาหรอกค่ะ ได้มาหมื่นหนึ่งแต่มีแต่คนพูดถึง
                          ว่าเราถูกจับอย่างนั้นอย่างนี้ คือถูกจับจริงมันก็ชดเชยด้วยเงินไม่ได้หรอกค่ะ
                          ความรู้สึกของหนูนะ ชดเชยไม่ได้หรอกค่ะ แล้วยิ่งมาเทียบกันกับที่ต้องถูก
                          พูดถึงอีก โอ๊ย ... ยิ่งรู้กันไปทั่วว่าถูกจับ อายแย่เลยค่ะ”

                          จากการสัมภาษณ์พนักงานหญิงบริษัทการบินไทยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศทุกท่าน นักวิจัย
                   สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่าไม่มีพนักงานท่านใดมีความยินดีที่เรื่องราวการถูกล่วงละเมิดของตนจะ
                   กลายไปเป็นเรื่องเล่าขานภายในบริษัท ไม่มีท่านใดต้องการย่างเท้าไปที่ใด แล้วมีผู้คนชี้ชวนให้กันฟังว่า
                   “คนนี้ไงที่ .... ” ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์เพราะจํานวนพนักงานหญิงที่ถูกล่วงละเมิดเมื่อให้สัมภาษณ์เป็นราย
                   กรณีมีจํานวนมากมาย ในขณะที่รายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรณีล่วงละเมิดและคุกคามทาง
                   เพศในที่ทํางานของบริษัทการบินไทยมีน้อยมากหรือไม่มีเลยในรอบหนึ่งปีหนึ่งๆ การนําเรื่องราวของตน
                   มาเปิดเผยต่อสาธารณะจึงเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนาของผู้ถูกกระทํา แต่ก็ยังมีพนักงานหญิงบางท่านที่
                   ฝืนใจตนเอง รวบรวมความกล้าหาญ แล้วเปิดเผยเรื่องราวที่ถูกคุกคามทางเพศต่อสาธารณะ เป็นที่
                   แน่นอนที่สุดว่า การนําเรื่องราวของตนเองมาเปิดเผยมิใช่กระทําไปเพราะคิดว่าการชดเชยด้วยเงินเป็น
                   ความเป็นธรรมที่ต้องการ พนักงานหญิงที่ถูกล่วงละเมิดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเธอต้องการ
                   ให้เกิดความเป็นธรรมด้วยการลงโทษผู้กระทําด้วยโทษอาญาสถานหนัก เธอบอกนักวิจัยว่า
                          “ศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง ชดเชยไม่ได้ด้วยเงิน”
                   ๓.๖ ภารกิจการสร้างตัวตายตัวแทน

                          กระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ต้องอาศัยพันธมิตรมากมายดังที่นักวิจัยได้อภิปรายไปแล้ว
                   นอกจากนี้ สิ่งที่สําคัญยิ่งของกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ในประเด็นใดก็ตาม คือการ “ช่วงชิงพื้นที่
                   จากมวลชน” ไว้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา นักวิจัยใช้คําว่า “ช่วงชิงพื้นที่จากมวลชน” โดยการแปล
                   แบบรวมความมาจากคําศัพท์ภาษาอังกฤษคําว่า  Hegemony (Gramsci 1971) หรือที่นักวิชาการไทย
                   หลายท่านเคยแปลไว้ว่า “ความคิดนํา” หลักคิดเบื้องต้นของวิธีคิด “ช่วงชิงพื้นที่จากมวลชน” ของ
                   Gramsci คือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนสังคมหนึ่งๆมีมากมายหลากหลาย คนเหล่านี้ถูกเลี้ยงดูหล่อหลอม
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52