Page 18 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 18
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration
of Human Rights)
สิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งมนุษย์ทุกๆ คนต้องได้รับและมีอยู่ ได้บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ตั้งแต่การประกาศใช้ในปีพุทธศักราช
๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) โดยองค์การสหประชาชาติได้ขอความร่วมมือประเทศสมาชิกทั่วโลกให้ช่วย
เผยแพร่ สร้างความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบัญญัติทั้ง ๓๐ ข้อ ซึ่งทำาให้เนื้อหาของปฏิญญาสากล
เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ปฏิญญาสากลนี้จะส่งผลให้เกิดสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน
ของประชาคมโลกด้วย
ข้อ ๑ มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอย่างอิสระเสรีและมีความเท่าเทียมกัน (We are all born free
and equal) มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอย่างอิสระเสรี มีความคิด เหตุผล และสำานึก พึงปฏิบัติ
ต่อกันฉันพี่น้อง
ข้อ ๒ จงอย่าเลือกปฏิบัติ (Don’t discrimination) บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ตามที่
ระบุไว้ในปฏิญญาฉบับนี้ โดยไม่มีการจำาแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ
ข้อ ๓ สิทธิในการดำารงชีวิตและการมีชีวิตอยู่รอด (The right to life) บุคคลมีสิทธิในการดำารงชีวิต
ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
ข้อ ๔ การห้ามบังคับให้เป็นทาส (No slavery) บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาระ
จำายอมใดๆ มิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ในทุกรูปแบบ
ข้อ ๕ การห้ามทรมาน (No torture) บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงทัณฑ์
การกระทำาทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือหยามเกียรติมิได้
ข้อ ๖ บุคคลมีสิทธิ และย่อมได้รับการยอมรับในทุกๆ แห่ง (You have rights, no matter where
you go) ทุกๆ คนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด
ข้อ ๗ บุคคลทุกคนต่างมีความเสมอภาคในกฎหมายเช่นเดียวกัน (We are all equal before
the law) ทุกๆ คนต่างเสมอกันในกฎหมาย และย่อมที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ
ข้อ ๘ สิทธิของบุคคลย่อมได้รับการปกป้อง และคุ้มครองโดยกฎหมาย (Your human rights are
protected by law) บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง เยียวยาจากรัฐธรรมนูญหรือ
จากกฎหมาย อันเนื่องมาจากการได้รับการปฏิบัติใดๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐานที่ตนได้รับ
ข้อ ๙ การห้ามกักขัง จับกุมโดยมิชอบ (No unfair detainment) บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือ
เนรเทศโดยพลการมิได้
18 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น