Page 17 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 17

เมื่อประชาคมโลกได้เห็นพ้องร่วมกันว่า คนทุกคนต้องได้รับและมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ๓๐
               ประการ ซึ่งครอบคลุมถึง สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีอิสระ และมีความปลอดภัย สิทธิในการเดินทาง
               สิทธิในการมีประเทศ หรือพื้นที่เขตปกครองที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ สิทธิในการถือครองและแบ่งปัน

               ทรัพย์สมบัติต่างๆ สิทธิในการเลือกนับถือหรือแสดงออกในความเชื่อ ความศรัทธา สิทธิในการแสดงออก
               หรือพูดสิ่งที่ตนคิด นอกจากนั้นยังครอบคลุมไปถึงสิทธิในการทำาหรือแสดงออกที่บุคคลนั้นๆ มีความ
               พึงพอใจที่จะทำาหรือแสดงออกด้วย
                      สิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่มีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีมานานก่อนที่จะมีการใช้คำาว่า

               “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
               มนุษย์ทุกคนล้วนต่อสู้ ยืนยัน และยอมพลีชีพเพื่อให้ได้รับอิสรภาพและเสรีภาพที่จะมีสิทธิดังกล่าว

               เป็นการต่อสู้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงหลายพันปีที่แล้ว และยังคงมีอยู่ในปัจจุบันนี้
                      ในอดีตกาล ยังไม่มีการใช้หรือการตระหนักถึงคำาว่า “สิทธิมนุษยชน” ต่อเมื่อมีการตั้งคำาถาม
               และการคิดหาคำาตอบ สิทธิมนุษยชนจึงกลายเป็นความเชื่อและความคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมี
               อิสรภาพและเสรีภาพ ในช่วงแรกกลุ่มคนที่มีฐานะรำ่ารวยเท่านั้นที่ใช้ประโยชน์จากแนวคิดเรื่อง

               สิทธิที่เกิดขึ้น ส่วนสามัญชนทั่วไปทั้งชายและหญิงยังคงไม่ได้รับสิทธิหรือการปกป้องคุ้มครองใดๆ
               ทั้งในกระบวนการยุติธรรม หรือจากการถูกทำาร้าย
                      ในช่วงเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา สังคมโลกเริ่มเข้าใจและยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิต่างๆ

               แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากพอ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่
               ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ประเทศผู้นำาต่างๆ ในโลกตระหนักถึงความสำาคัญของสิทธิมนุษยชน
               จึงได้ร่วมกันจัดทำาตราสารที่ครอบคลุมประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก

               ตราสารดังกล่าวนี้เรียกว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human
               Rights) มีเนื้อหาครอบคลุมสิทธิขั้นพื้นฐาน ๓๐ ด้าน



































                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22