Page 15 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 15

“เจ้าเมือง บ เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่

                      ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักค้าเงินค้าทอง ค้า”
                             เป็นการแสดงถึงสิทธิและเสรีภาพในการค้าขาย

                             “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้ในนั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้าน

                      กลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่าน
                      แขวนไว้ พ่อขุนรามคำาแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ”
                             ข้อความดังกล่าวนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงสิทธิในการร้องทุกข์


                      ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหง (พุทธศักราช ๑๘๑๘ – ๑๘๖๐) ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ ๑
               (Edward I) แห่งอังกฤษ อันเป็นสมัยปฏิรูปอันยิ่งใหญ่สำาหรับระบบกฎหมายและรัฐสภาของอังกฤษ
               ตรงกับสมัยของพระเจ้าฟิลิป เลอ เบล (Philippe le Bel) แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นระยะที่กฎหมายโรมัน

               และรัฐสภาเริ่มมีบทบาทแทนที่อิทธิพลของสันตะปาปา และตรงกับสมัยที่มลรัฐแห่งสวิสเซอร์แลนด์
               ได้เริ่มการปลดการบีบบังคับจากกษัตริย์ด้วย

                      แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนนั้นต่อมาได้รับการยอมรับและให้ความสำาคัญจากประเทศทั่วโลก

               เป็นอย่างมากหลังจากสงครามโลกครั้งที่  ๒  สิ้นสุดลง  เนื่องจากประชาคมโลกได้ตระหนักถึง
               ความโหดร้ายทารุณของสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกระทำายำ่ายีต่อสตรี เด็ก และคนชรา
               ซึ่งมนุษย์ได้กระทำาต่อมนุษย์ด้วยกัน อันเป็นผลจากสงครามโลกดังกล่าวจนนำาไปสู่การพัฒนากฎหมาย

               สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการ ข้อตกลง ระบบและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็น
               มาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับสากลเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในโลกนี้
               ต่อไป



                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20