Page 23 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 23
๔. ต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
๕. ต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการ
ดังกล่าวแล้วข้างต้น
๖. ต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ช่วงเวลา ๒๕ ปีต่อจากการอภิวัฒน์นั้น ความผันผวนทางการเมืองอันเกิดจากการขัดแย้ง
ทางการเมืองได้ทำาให้มีการต่อสู้ช่วงชิงอำานาจกันในหมู่ชนชั้นนำาทางการเมืองและราชการ จนเกิดการ
รัฐประหาร พุทธศักราช ๒๔๙๐ ซึ่งเป็นยุคเผด็จการและการสิ้นสุดของหลักสิทธิมนุษยชนตามนัยของ
หลัก ๖ ประการ
อีกช่วงเวลา ๑๐ ปีต่อมา อำานาจทางการเมืองเปลี่ยนผ่านไปสู่กลุ่มอำานาจรุ่นใหม่ทำาให้เกิด
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองไทยควบคู่ไปกับการสถาปนาอำานาจตั้งตนร่วมอยู่
ในค่าย “โลกเสรี” และการต่อต้านปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในที่สุดระบอบเผด็จการทหารได้เปิด
ศักราชของการวางแผนพัฒนาประเทศในวิถีทางผลักดันให้เศรษฐกิจสังคมไทย พร้อมกับผนวกการเข้า
สู่กระแสทุนอุตสาหกรรมนิยมและระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีอย่างเต็มตัวขึ้นตามลำาดับมาจนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปี
พุทธศักราช ๒๔๙๑ ด้วยปัญหาการเมืองที่ล้าหลังและเป็นเผด็จการ ทำาให้การเติบโตของแนวคิดสิทธิ
มนุษยชนแบบอุดมการณ์เสรีนิยมตะวันตกของสังคมไทยจึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงมีการต่อสู้และ
เรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มข้นดังเห็นได้จากกรณีเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พุทธศักราช ๒๕๓๕ ที่ถือได้ว่า
เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงครั้งสำาคัญในสังคมไทย เหตุการณ์เหล่านี้ทำาให้มีการผลักดัน
การสร้างจิตสำานึกเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังและเกิดกลไกต่างๆ ให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อป้องกัน
การใช้อำานาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยด้วยการนำาประเทศเข้าเป็นสมาชิกของกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง และได้ทำาให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ เพื่อให้เป็นกลไกหนึ่งในด้าน
การส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้นในสังคมไทย
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 23