Page 14 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 14
แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากความเชื่อ ปรัชญา และ
คำาสอนทางศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคน
มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีอิสระทางความคิด และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน แนวคิดเรื่อง
สิทธิมนุษยชนจึงมีมาแต่ครั้งสมัยโบราณ ในสมัยกรีกและสมัยโรมันพบว่า ได้มีการแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่โน้มเอียงไปทางการจำากัดอำานาจของกษัตริย์ หรือชนชั้นปกครองซึ่งเห็นกันว่า
มีมากเกินไป หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าได้สอนให้มนุษย์เคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชน
เลิกการดูหมิ่นเหยียดหยามกันโดยการถือเอาวรรณะเป็นเครื่องแบ่งชนชั้นของมนุษย์ ดังปรากฏ
คำาสอนในสีลวีมังสชาดก (ปัจเจกนิบาตชาดก สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๗ หน้า ๑๗๕) ที่มีคำาของ
พระพุทธองค์ “ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ศีลต่างหากที่เป็นของสูงสุด ถ้าไม่มีศีลแล้ว สุตะจะไม่มี
ประโยชน์อะไร” และในกัณณกัตถลศูทร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสุตปิฎก เล่ม ๑๓ หน้า ๕๑๗)
ทรงตรัสว่า “วรรณะทั้ง ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ถ้ามีคุณธรรมแล้วก็จะเชื่อว่า
เสมอกัน” เป็นต้น
ในประเทศไทยนั้นแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนได้เกิดขึ้นมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชซึ่งทรงจารึกไว้เมื่อปี พุทธศักราช ๑๘๓๕ เป็นหลักฐาน
สำาคัญที่บ่งชี้ได้ชัดเจนถึงสิทธิมนุษยชน ดังเช่นคำาจารึกว่า
14 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น