Page 20 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 20
แห่งชาตินำาโดยศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จึงได้พบและหารือและร่วมประชุมกับฝ่ายรัฐบาล โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ณ กรมทหารราบที่ ๑๑ หลังเสร็จสิ้นการประชุม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ร่วมกันแถลงข่าวสรุปข้อตกลงว่า รัฐบาลเห็นด้วยกับ
กรอบข้อตกลงและจะดำาเนินการอย่างสันติปราศจากอาวุธ คำานึงถึงความปลอดภัย หลีกเลี่ยง
ความรุนแรงโดยจะยึดแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ได้เคยแจ้งไว้ก่อนแล้วว่า หากมี
ความจำาเป็นจะดำาเนินการตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก ที่เริ่มด้วยการชี้แจงทำาความเข้าใจ
้
แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความพร้อมผลักดันด้วยโล่ การใช้นำาฉีด ใช้เครื่องขยายเสียง
้
แก๊สนำาตา กระบอง รวมถึงกระสุนยาง การใช้กฎหมายความมั่นคงจะกระทำาให้กระทบสิทธิ
และเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุด และยินดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติจะเป็นตัวกลาง หรือเป็นตัวเชื่อม ทำาให้สถานการณ์ไม่เกิดความรุนแรง และรัฐบาลยินดี
ให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติด้วยความสันติสุข
วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าพบพลเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ณ ที่ทำาการพรรคเพื่อไทย หลังการหารือคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติได้แถลงข่าวถึงข้อเสนอแนะของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ว่าขอให้รัฐบาลแก้ปัญหา
ระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ
เป็นเรื่องรอง และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ใช้วิธีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ได้เข้าพบผู้นำาศาสนาอิสลาม ณ สำานักจุฬาราชมนตรี โดยมี ศ. ดร. อิมรอน มะลูลีม ประธาน
คณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี และคณะร่วมปรึกษาหารือ หลังจากนั้น คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำาศาสนาอิสลามได้ร่วมแถลงข่าวสรุปว่า ขอให้สังคมยึดมั่นเรื่องสันติ
เคารพกฎหมาย เคารพกติกาของสังคมโดยใช้หลักเมตตาธรรม และเห็นด้วยกับการประนีประนอม
และเจรจาเพื่อยุติปัญหาความรุนแรง
ในวันเดียวกัน เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าพบ
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับผู้นำา ๓
ศาสนา ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ได้มีการจัดเวทีผนึกกำาลัง ๓
ศาสนา เตือนสติสังคมไทย ณ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย ศ. ดร. อิมรอน
มะลูลีม ผู้นำาศาสนาอิสลาม ขอให้ธำารงไว้ซึ่งความยุติธรรม การเคารพกฎหมายและกติกาของ
18
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓