Page 19 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 19
ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เดินทางเข้าพบหารือ
กับแกนนำากลุ่ม นปช. ประกอบด้วย นายวีระ (วีระกานต์) มุสิกพงศ์ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย และ
นายแพทย์เหวง โตจิราการ ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ถนนหลานหลวง การเข้าพบดังกล่าว
มีการหารือและเสนอข้อตกลงเพื่อการเคารพสิทธิและเสรีภาพและสันติวิธีในการชุมนุม โดยมีสาระ
สำาคัญ ดังนี้
“๑) การชุมนุม
การชุมนุมจะเป็นไปโดยสันติวิธี สงบและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ และ
คำานึงถึงความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อยหรือสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
๒) เขตพื้นที่การชุมนุม
๒.๑) จะไม่ชุมนุมในรัศมี ๕๐๐ เมตร โดยรอบสถานที่ประทับ
๒.๒) จะไม่มีการขัดขวางการเข้า - ออกของผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ และ
ประชาชนที่ต้องเข้าไปใช้บริการของสถานที่ ต่อไปนี้
๒.๒.๑) อาคารรัฐสภา
๒.๒.๒) ทำาเนียบรัฐบาล
๒.๒.๓) สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
และสถานที่ตั้งของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ
๒.๒.๔) โรงพยาบาล
๒.๒.๕) สนามบิน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีขนส่ง
๓) การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อผู้ชุมนุม
๓.๑) มีหน้าที่คุ้มครองและอำานวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมการ
ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
๓.๒) มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ
ความสงบเรียบร้อยของสังคม การสาธารณสุข ศีลธรรมของประชาชน และสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลอื่น ซึ่งการดำาเนินการดังกล่าว หากต้องจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมจะกระทำา
เท่าที่จำาเป็นตามสถานการณ์ ตามที่กฎหมายกำาหนดอย่างเคร่งครัดและสอดคล้องกับ
หลักการขั้นพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับของสากล
๓.๓) จะไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม หากเกิดกรณีที่การชุมนุมมีการ
กระทำาที่ละเมิดกฎหมายหรือมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบหรือความรุนแรง จะใช้
มาตรการที่ละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธ”
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เมื่อได้รับการตอบสนองข้อตกลงจากกลุ่ม นปช.
และเพื่อให้ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการตอบสนองจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
17
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓