Page 20 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 20
การใช้กำลังและอาวุธปืน
มาตรฐานสิทธิมนุษยชน
การใช้กำลัง
• บุคคลมีสิทธิในการมีชีวิต ความมั่นคงแห่งบุคคล และอิสรภาพจากการถูกกระทำทรมาน หรือการปฏิบัติ
หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
• ต้องใช้วิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นลำดับแรก
• การใช้กำลังจะกระทำได้ เมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
• การใช้กำลังต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อบังคับใช้กฎหมายโดยชอบเท่านั้น
• ไม่มีข้อยกเว้นหรือข้อแก้ตัวใดๆ ในการใช้กำลังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
• การใช้กำลังจะต้องใช้ในระดับที่เหมาะสมและพอสมควรแก่เหตุ
• การใช้กำลังต้องพอสมควรแก่เหตุ
• ให้มีความเสียหายและการบาดเจ็บน้อยที่สุด
• ต้องมีรูปแบบการใช้กำลังที่เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ
• เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรมในรูปแบบการใช้กำลังที่เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ
• เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรมในเรื่องของวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง
ความรับผิดชอบในการใช้กำลังและอาวุธปืน
• ผู้บังคับบัญชาจะต้องได้รับรายงานและทบทวนทุกเหตุการณ์ที่มีการใช้กำลังและอาวุธปืน
• ผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้บังคับบัญชาของตน
หากผู้บังคับบัญชารู้หรือควรจะต้องรู้ถึงการกระทำนั้น แต่ไม่กระทำการใดๆ ตามอำนาจหน้าที่
• เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา ย่อมได้รับความคุ้มครอง
ให้ไม่ต้องรับโทษ
• เจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดต่อหลักเกณฑ์นี้ไม่สามารถอ้างเหตุในการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้
สถานการณ์ที่อนุญาตให้ใช้อาวุธปืนได้
• อาวุธปืนจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขันรุนแรงเท่านั้น
• อาวุธปืนจะใช้ได้เพียงเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นจากภยันตรายร้ายแรงที่ใกล้จะถึงและพอสมควรแก่เหตุ
หรือ
♦ เพื่อป้องกันอาชญากรรมร้ายแรงเป็นพิเศษที่อาจนำไปสู่ภยันตรายร้ายแรงต่อชีวิต
หรือ
♦ เพื่อจับกุม หรือป้องกันการหลบหนีของบุคคลซึ่งก่อภยันตรายดังกล่าว และผู้ที่ขัดขวางความพยายาม
ที่จะระงับภยันตรายนั้น
และ
18