Page 190 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 190
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตัวอย่างเช่น กรณีข้อร้องเรียนการก่อสร้างท่าเรือที่ตำาบลกลาย อำาเภอท่าศาลา จังหวัด
นครศรีธรรมราช ซึ่งมีการจัดทำาร่างผังเมืองรวมจังหวัดที่อยู่ระหว่างรอประกาศใช้บังคับ การจัดทำารายงาน
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ได้ระบุองค์ประกอบการใช้ประโยชน์พื้นที่
โครงการบนฝั่ง ซึ่งจะมีพื้นที่ส่วนที่เป็นถังเก็บนำ้ามันเชื้อเพลิง (ดีเซล) คลังเก็บนำ้ามันหล่อลื่น คลังเก็บถัง
บรรจุสารเคมี โรงเก็บของเสียอันตราย และโครงการนี้มีการขนส่งลำาเลียงสารกัมมันตรังสี (อิริเดียม-192)
และสารที่เป็นวัตถุระเบิด แม้ว่ารายงานจะอ้างว่าเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการและการขนส่ง
แต่กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่เป็นข้อห้ามในการใช้ประโยชน์ในผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ ท่าเรือของบริษัทฯ จัดเป็นท่าเรือที่ใช้งานเพื่ออุตสาหกรรม มิใช่สาธารณูปโภคที่เป็นบริการ
เพื่อสาธารณะ
พื้นที่บริเวณโครงการอยู่ในร่างผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกำาหนดไว้เป็นการใช้ที่ดิน
ประเภทชนบทและเกษตรกรรม ที่กำาหนดให้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ
สถาบันศาสนา สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ จะเห็นว่าการพัฒนาโครงการเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และกิจกรรมที่ขัดแย้งกับผังเมือง โดยในพื้นที่ชนบทเกษตรกรรมห้ามมิให้มีกิจกรรมประเภทการเก็บรักษา
ขนส่ง ลำาเลียงสารเคมีอันตราย
แม้ว่าผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้นยังถือเป็นฉบับร่าง แต่เป็นร่างที่ผ่านความ
เห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เตรียมรอประกาศใช้บังคับ และมีบันทึกของสำานักงานโยธาธิการ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ นศ 0020/292 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช
แจ้งการเตรียมพร้อมใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน
พ.ศ. 2555
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นการ
ดำาเนินการและให้ความเห็นต่อกิจกรรมที่ยื่นเรื่องเพื่อจะพัฒนาในอนาคตและร่างผังเมืองรวมจังหวัด
นครศรีธรรมราช ก็เป็นร่างที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ เพื่อบังคับใช้ให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินมิให้มี
กิจกรรมที่ก่อผลกระทบ
ดังนั้น ด้วยหลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การคุ้มครองสิทธิในการดำารงชีวิตที่ปกติ
ต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการให้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและ
ชุมชน ดังเช่นในมาตรา 67 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เป็นต้น ผู้รับผิดชอบ
ในการพิจารณา การอนุมัติ อนุญาต จึงควรพิจารณามิให้กิจกรรมที่อาจเป็นอันตราย ก่อให้เกิดผลกระทบ
ดำาเนินการในพื้นที่ซึ่งเป็นข้อห้ามในผังเมือง
189