Page 167 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 167

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



            ต้องการให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งอย่างยั่งยืน ควบคุมการขยายตัวของชุมชน รักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม

            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณรอบชุมชน

                    การที่โรงไฟฟ้าไปสร้างในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม จึงขัดกับข้อกำาหนดผังเมืองรวม

            เป็นการพัฒนาที่ทำาให้การนำาผังเมืองไปสู่การปฏิบัติ ไม่บรรลุผลในการจัดระเบียบการใช้ที่ดินมิให้ส่งผล

            กระทบต่อกันและปัญหาของผังเมืองที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ การพัฒนาที่ขัดแย้งกับพื้นที่และข้อกำาหนด

            แต่ใช้โอกาสการขออนุญาตในช่วงที่ผังเมืองรอประกาศใช้บังคับ เพราะใช้เวลานาน โดยที่ผู้พัฒนานั้นทราบ
            ข้อกำาหนดที่ห้าม แต่ใช้ช่วงเวลารอประกาศในการได้มาซึ่งใบอนุญาต เหตุการณ์เหล่านี้มีขึ้นในหลายพื้นที่

            หากเพิกเฉยต่อการเคารพต่อข้อกำาหนดผังเมืองที่แม้จะเป็นร่างก็จะทำาให้เกิดการพัฒนาที่เดินตามเส้นทาง

            ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมเป็นวงจรไม่รู้จบ

                    การอ้างว่าได้ใบอนุญาตก่อนผังเมืองประกาศ แล้วดำาเนินการก่อสร้างก่อนผังเมืองประกาศ โดยยึด

            การตีความเพียงว่าไม่บังคับต่อการใช้ที่ดินที่มีมาก่อน เพื่อคุ้มครองผู้ใช้ประโยชน์มาก่อนนั้น จึงไม่ควรได้รับ
            ความคุ้มครองเพราะในผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีก็มีการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม

            ซึ่งผู้ประกอบการสามารถพัฒนากิจการได้โดยไม่ขัดกับผังเมือง แต่กลับมาดำาเนินการในบริเวณที่กำาหนด

            เป็นข้อห้าม

                    นอกจากนี้ กรณีการอ้างการใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนผังเมืองประกาศนั้น สำานักงานคณะกรรมการ

            กฤษฎีกาเคยมีความเห็นต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรา 27 ความตอนหนึ่งว่า “การยกเว้นนั้นมิใช่ถือ

            เป็นเด็ดขาด เพราะถ้าคณะกรรมการผังเมืองเห็นว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นนั้นต่อไปเป็นการขัดต่อ
            นโยบายของผังเมืองรวมในสาระสำาคัญที่เกี่ยวกับสุขลักษณะ ความปลอดภัยของประชาชนและสวัสดิภาพ

            ของสังคม คณะกรรมการผังเมืองก็มีอำานาจกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง

            ที่ดินจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือระงับการใช้ประโยชน์ที่ดินเช่นนั้นต่อไปภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร

            ได้” จากบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ ที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงเห็นได้ว่า คำาว่า
            “ใช้ประโยชน์ที่ดิน” ตามมาตรา 27 นั้นมีความหมายว่า ใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับ

            ผังเมืองรวมกำาหนดไว้ เช่น ที่ดินที่กำาหนดให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม จะนำาไปใช้เป็นที่ดิน

            ประเภทพาณิชยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แต่ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้
            ประโยชน์ที่ดินของตนเป็นที่ดินเพื่อการพาณิชย์มาก่อนที่กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกำาหนดให้ที่ดิน

            นั้นเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นก็จะใช้ประโยชน์ที่ดินของตน

            เพื่อการพาณิชย์ต่อไปได้ตามมาตรา 27 วรรคสอง

                    (ตามความเห็นของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขเสร็จ 439/2532 เรื่องบันทึกความหมาย

            ของคำาว่า “ใช้ประโยชน์ที่ดิน” ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518)   5




            5   ที่มา: http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/decal/2532/c2_0439_2532.htm




                                                          166
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172