Page 164 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 164
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
- ควรมีการศึกษาจัดการการมีส่วนร่วม กำาหนดขอบเขตหมายเลขเฉพาะในผังเพื่อให้มีการมี
ส่วนร่วมพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่เกิดการพัฒนาที่ไร้ทิศทางและยากแก่การควบคุมผลกระทบ
โดยเฉพาะจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่หลากหลาย มีคุณค่าต่อการดำารงชีวิตของเกษตรกร
ชาวประมงและต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ช่วงเวลาระหว่างที่ผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล (รวมทั้งจังหวัดอื่น
ที่มีการถอนกฎกระทรวงผังเมืองรวมมาปรับปรุง) พบว่า ระยะเวลาจากการที่กรมโยธาธิการและผังเมือง
ส่งผังที่ได้รับความเห็นชอบไปยังสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจ แก้ไข และเตรียมประกาศนั้น
มีระยะเวลาประมาณเกือบ 7 ปี จนถึงปีที่มีการถอนร่างมาปรับปรุง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งมี
การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ สภาพพื้นที่และการพัฒนา กรมโยธาธิการและผังเมืองควรจัดการมีส่วนร่วม
ตั้งแต่ในระดับการวิเคราะห์ ประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่กำาหนดในผังที่ต้องปรับปรุง มีการชี้แจง
ให้ข้อมูลการวางผัง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมให้ความเห็นต่อข้อมูล ทิศทางและทางเลือกการวางผัง อย่าง
ทั่วถึงก่อนการจัดทำาผังและจัดการประชุมประชาชนโดยมีการให้ข้อมูลผังฉบับร่าง ข้อกำาหนด คำาอธิบาย
ขอบเขตผัง คำาอธิบายการกำาหนดประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้ในการจัดทำาข้อกำาหนดก่อนการจัดประชุม
รับฟังความคิดเห็น
ร่�งผังเมืองรวมจังหวัดสงขล� ฉบับเดิม ร่�งผังเมืองรวมจังหวัดสงขล� ฉบับปรับปรุง
รูปที่ 4.25 ก�รเปรียบเทียบผังเมืองรวมจังหวัดสงขล� ฉบับเดิมและฉบับที่ปรับปรุง
ที่ม� :
1. กรมโยธ�ธิก�รและผังเมือง. ร่�งผังเมืองรวมจังหวัดสงขล�. (ข้อมูลร่�งผังเมืองรวมจังหวัด 2549).
2. กรมโยธ�ธิก�รและผังเมือง. ร่�งผังเมืองรวมจังหวัดสงขล�. (ข้อมูลร่�งผังเมืองรวมจังหวัดฉบับปรับปรุงใหม่
2557).
163