Page 170 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 170

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



                2) ช่วงระหว่างการดำาเนินการวางผัง


                    เนื่องด้วยช่วงการวางผังมีขั้นตอนการทำางานที่มีขั้นตอนย่อยและเป็นการทำางานด้านพื้นที่ ด้านข้อมูล
             ที่ประชาชน ชุมชน ในหลายพื้นที่ไม่ทราบ รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะทำาให้เกิดการมีส่วนร่วมได้อย่าง

             เข้าใจ จึงทำาให้การกำาหนดวิสัยทัศน์ การใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

             อย่างแท้จริงและจากตัวอย่างข้อร้องเรียนในหลายพื้นที่ซึ่งแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ร้องเรียนในเรื่องผังเมือง แต่ได้
             เห็นว่ามีการใช้ประโยชน์พื้นที่ซึ่งขัดแย้งกับการใช้ประโยชน์เดิมของชุมชนและส่งผลกระทบต่อชุมชน และ

             ชุมชนไม่ทราบว่ามีการจัดทำาผังเมืองที่เป็นการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต จึงขาดการเข้าถึง

             ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมในการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่จะเป็นมาตรการป้องกันกิจกรรมที่จะ

             มีผลกระทบ เช่น กรณีการกำาหนดที่ตั้งโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ใกล้ชุมชน ซึ่งประชาชน
             ไม่ทราบข้อมูลการกำาหนดการใช้ที่ดินในอนาคต


                    ตัวอย่างเช่น จังหวัดชุมพร ซึ่งชุมชนมีการคัดค้านต่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท่าเรือนำ้าลึก
             และโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชนบทเกษตรกรรม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้

             มีส่วนร่วมแสดงข้อคิดเห็นต่อข้อกำาหนดในช่วงเวลาดำาเนินการวางผังเมืองรวมจังหวัด เนื่องจากชุมชน

             ไม่ทราบข่าวและไม่ได้รับข้อมูล ที่ทำาให้เกิดความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมแสดงความเห็น แม้ว่าในช่วง
             ดำาเนินการวางผังจะต้องมีการปิดประกาศและจัดรับฟังความเห็นก็ตาม แต่ก็ไม่ทั่วถึงและไม่ครอบคลุม

             ผู้มีส่วนได้เสียที่สำาคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งได้รับการกำาหนดให้สามารถมีการเปลี่ยนแปลงการใช้

             ประโยชน์ที่ดินจากเกษตรไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและพลังงาน

                    กรณีการวางผังเมืองรวมจังหวัดชุมพร เป็นผังเมืองรวมที่นำาเสนอต่อกรรมการผังเมืองแล้ว

             แต่ชุมชนในพื้นที่ไม่ทราบและไม่ได้รับความเข้าใจในสาระของผังในช่วงระหว่างการดำาเนินการวางผังและ

             การจัดทำาข้อกำาหนดร่างผังเมืองรวมจังหวัดชุมพรที่เป็นความขัดแย้ง ให้มีกิจการโรงงานผลิต ส่ง หรือจำาหน่าย
             พลังงานไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี โรงงานถลุงเหล็กในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ชนบท

             และเกษตรกรรม พื้นที่สีเขียวที่ถูกกำาหนดไว้สามารถดำาเนินกิจการที่เป็นปัญหาได้และกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

             ของการเป็นจังหวัดการเกษตร การท่องเที่ยว แต่กลับไม่มีการแก้ไข และได้เดินหน้าต่อโดยไม่มีการมีส่วนร่วม

             จึงเป็นการกำาหนดพื้นที่ให้มีการพัฒนาที่นำามาสู่ความขัดแย้งในเวลาต่อมา

                    นอกจากนี้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาการจัดทำาผังเมืองรวมจังหวัดหมดอายุลง โดยที่การวางและจัดทำา

             ผังเมืองรวมจังหวัดชุมพรยังไม่ประกาศใช้บังคับ แม้ว่าจะได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน
             ตามกฎหมาย การผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมืองแล้วก็ตาม แต่ในการที่จะใช้ร่างผังเมืองรวม

             จังหวัดชุมพรฉบับเดิมในการดำาเนินการต่อ หรือจะให้มีการปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัดใหม่นั้น เป็น

             การประชุมตัดสินใจในระดับคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัด โดยมิได้มีการให้ข้อมูลต่อประชาชน
             และมิได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน








                                                           169
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175