Page 104 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 104

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



                       อยู่แล้วก็หมดอายุไปด้วย ซึ่งหากมีผังนโยบายอยู่แล้ว การจะปรับทุกๆ 5 ปี ก็สามารถทำาได้

                       เมื่อแยกข้อกำาหนดออกจากผัง ข้อกำาหนดที่ดีอยู่แล้วก็จะไม่ต้องเปลี่ยน

                    -  การพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่นั้น ควรยึดโยงผู้มีส่วน

                       ได้เสียในเชิงประเด็นหรือนอกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและควรทำาให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์

                       ของภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และภาคประชาชน

                    -  การวางผังต้องยึดโยงถึงการใช้ประโยชน์ในภาพรวมทั้งประเทศ หรืออาจจะยึดโยงเป็นภูมิภาค

                       ด้วย ไม่ควรพิจารณาเพียงการใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับจังหวัดหรือระดับพื้นที่ เนื่องจากผังเมือง

                       เป็นเครื่องมือของการพิทักษ์สิทธิของส่วนรวมทั้งหมด คนในท้องถิ่นมีสิทธิที่จะเลือกหรือช่วยกัน
                       ออกแบบได้ว่าควรจะจัดการพื้นที่ตัวเองอย่างไร แต่ไม่สามารถที่จะทำาลายสิทธิส่วนรวมได้ ซึ่งระบบ

                       การวางผังของไทยยังไม่ค่อยยึดโยงกัน

                    -  การพิจารณาเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดทำาผัง ต้องคำานึงถึง Input หรือข้อมูลเชิงนโยบาย 5 กลุ่ม

                       คือ


                      1)  Mandate คือ สิ่งที่รัฐกำาหนดมา เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ซึ่งนักผังเมืองจะต้องสร้างสมดุล
                         Input เหล่านี้ทั้งหมด โดยจะไปสัมพันธ์กับสิทธิชุมชน เมื่อเกิดกรณีที่ Mandate ไปขัดกับ

                         สิทธิชุมชนแล้วจะทำาอย่างไร


                      2)  Legacy Goal คือ แต่ละเมืองมีจริตเฉพาะ ซึ่งจะไปเปลี่ยนไม่ได้

                      3)  Generic Goal คือ เพื่อสุขอนามัย เพื่อความปลอดภัย และสวัสดิภาพของสังคม ซึ่งตรงนี้

                         จะไปขัดไม่ได้เลย หากไปขัดต่อสิทธิชุมชนแล้วประชาชนมาเรียกร้องรัฐก็จะใช้อำานาจใช้
                         Due Process of Law ในการจัดการ


                      4)  Needs คือ ประเด็นไหนที่มีปัญหา เราก็ต้องไปแก้ไขโดยทำาการวิจัยเล็กๆ

                      5)  Aspiration คือ ความต้องการของชุมชน



                2) ประเด็นกฎหมาย


                    ก) ก�รมีส่วนร่วมของประช�ชน

                      -  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 85 (1) ตอนท้าย กำาหนดว่า

                          ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมใน
                          การตัดสินใจ ซึ่งการมีส่วนร่วมในที่นี้ จะต้องอยู่ในระดับของการมีส่วนร่วมเพื่อตัดสินใจด้วย

                          แม้ว่ารัฐธรรมนูญในส่วนนี้เป็นเรื่องของแนวนโยบาย ซึ่งเป็นแนวทางไม่ใช่การบังคับ แต่เป็น

                          แนวทางที่ไปเกี่ยวกับการบังคับในบทกฎหมายอื่นด้วย






                                                           103
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109